พัฒนาการเด็ก 1 เดือน การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับทารกแรกเกิด - 1 เดือน

23 October 2017
196645 view

พัฒนาการเด็ก 1 เดือน

เมื่อแรกคลอดสัญชาตญาณของทารก คือการมีชีวิตรอด ทารกปกติจะมีทักษะการหายใจได้เองอย่างน่าอัศจรรย์  เมื่อแรกคลอดที่ตัดสายสะดือ เขาและคุณแม่ถูกแยกออกเป็นคนละคนแล้ว  ยกเว้นในรายที่มีอาการผิดปกติร่วมด้วย ไม่สามารถหายใจได้เอง ทารกวัยแรกเกิดนี้ ประสาทสัมผัสทั้ง5 เริ่มทำงาน สามารถได้ยินเสียงจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้เป็นอย่างดี เพราะหูของเขารับรู้ได้ยินเสียงตั้งแต่เดือนที่ 7 ขณะอยู่ในครรภ์  รู้สึกร้อนหนาว ร้องเมื่อเปียก แฉะ หนาว หรือหิว ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 ทำงานเกิอบปกติแล้ว ยกเส้นการมองเห็น  เพราะทารกแรกเกิด – 30 วัน สามารถมองเห็นลางๆ คล้ายทีวีขาวดำ ระยะ 1 ฟุตเท่านั้น

พัฒนาการเด็ก 1 เดือน ตรวจเช็คพัฒนาการเริ่มเมื่อไหร่

วัยแรกเกิดฉลาดที่จะเรียนรู้ – เมื่อแตะมุมปาก ลูกจะเผยอปากพร้อมกับหันหานิ้วที่แตะ ทำท่าเตรียมดูดนมได้

  • คว้าจับได้หากบังเอิญมือไปแตะเข้ากับสิ่งของ
  • หากแม่เอานิ้วมือไปสัมผัสบริเวณฝ่ามือของลูก ลูกจะค่อยๆ กำมือเข้าหา เมื่อดึงออก

พัฒนาการเด็ก 1 เดือน กับการกระตุ้นพัฒนาการ

  • กระตุ้นด้วยการสัมผัสที่อบอุ่น
  • กระตุ้นด้วยการนวดสัมผัส การนวดสัมผัส ทำให้ทารกผ่อนคลาย หลับสบาย อารามณ์ดีท้องไม่อืด

พัฒนาการเด็ก 1 เดือน โภชนาการควรเป็นอย่างไร

  • นมแม่อย่างเดียว แรกเกิด – 2 วันแรกลูกอาจจะไม่ดูดนม หลับซะส่วนใหญ่ คุณแม่ไม่ต้องกังวลใจ เป็นพัฒนาการตามวัยของเขาค่ะ  เด็กแรกเกิด สามารถอยู่ได้ 24 ชั่วโฒงโดยที่ไม่ต้องรับประทานอะไรเลย  เพราะทารกได้สระสมสารอาหารจากสายสะดือแม่ตอนที่อยู่ในครรภ์ พกติดตัวมาด้ว หรือเรียกกันว่า เด็กแรกเกิดพกปิ่นโตมาด้วย หาก 2 วันแรกทารกดูดนมน้อย นอนมาก อย่าตกใจ
  • สำหรับทารก ที่ไม่สามารถดื่มนมแม่ได้  ไม่ว่าจเหตุผลใๆก็ตาม ุแม่ควรให้ลูกได้รับนม ผง  วันละ 6-8 มื้อ
  • ไม่ต้องดื่มน้ำเพราะในนมแม่มีอัตราส่วนของน้ำผสมอยู่แล้ว
  • สูตรคำนวณนมของทารกแรกเกิด 0-30 วัน
    น้ำหนักลูกเป็นกิโลกรัม คูณ  150 ซีซี แล้วหาร 30 เป็นปริมาณนมใน 1 วัน แบ่ง 6 มื้อ
    ตัวอย่างเคสแรกเกิด หนัก 3 กก. ครบ 1 เดือน ควรหนัก 3.6 แต่คำนวณง่ายๆ เอา 4 กก.คูณ 150 เท่ากับ 600 หาร 30 คือ 20 ออนซ์ + /- ได้ไม่เกิน 4 ออนซ์ ควรเเบ่งมื้อนมอออกเป้น 6-8มื้อ/วัน นะคะ ไม่ควรให้นมลูกมากเกิดนไปอาจทำให้เกิด Over feeding ได้ค่ะ

พัฒนาการเด็ก 1 เดือน กับการดูเเลทุกเรื่องของทารกแรกเกิด ตลอด24ชั่วโมง 

เมื่อลูกยังไม่ครบ 1 เดือน คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลอย่างไกล้ชิด วิธีการดูแลลูกน้อยอย่างถูกต้องเหมาะสม และสังเกตอาการที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนี้

  • แหวะนม  อาเจียน  อาการดังกล่าวหากเกิดไม่ถี่จนเกินไป ถือว่าปกติ เกิดจากหูรูดกระเพาะอาหารทำงานไม่สมบูรณ์ หากบ่อยครั้ง อาเจียนพุ่ง ควรพบแพทย์ อาจมีภาวะกรดไหลย้อน หรือลำไส้กลืนกัน
  • เด็กนมผสม ในรายที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ลูกกินนมผสม( นมผง)  อาจมีปัญหามากกว่าเด็กนมแม่ เช่น ผื่นขึ้น ท้องอืด ถ่ายเหลว ถ่ายเป้นมูก ไม่ถ่าย แน่นอนลูกคุณแม่อาจแพ้โปรตีนในนมวัว ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด่วนค่ะ
  • ท้องอืด    หากลูกดูดลมเข้าไปเยอะ ควรให้เรอหลังดูดนมทุกครั้ง และอุ้มนาน 30 นาทีก่อนค่อยให้นอนลง
  • การขับถ่ายปัสสาวะสีเข้มหรือไม่  การได้รับน้ำ หรือนมไม่เพียงพอทำให้ปัสสาวะสีเข้มได้ คุณแม่ควรใส่ใจลูกน้อยเรื่องนี้ด้วยค่ะ
  • การขับถ่ายหากลูกกินนมแม่จะถ่ายอุจจาระบ่อย 48ชั่วโมงแรก ทารกจะมีอุจจาระที่ดำๆ เขียวๆ ที่เรียกว่า “ขี้เทา” มีลักษณะนุ่มเหนียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ของทารกจากเมื่อตอนที่ยังอยู่ในท้แงแม่ และจะถูกขับออกมาตามกระบวนการขับถ่าย หลังจากนั้นอุจจาระของลูกก็จะกลายเป็นสีเหลืองเอง
  • ลิ้นเป็นผ้า หลังดื่มนม ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกเช็ดทำความสะอาดคราบน้ำนม เหงือก และลิ้น
  • ร้องตลอดเวลา การร้องของลูกวัยนี้บ่งบอกถึง การไม่สุขสบาย คุณพ่อคุณแม่ต้องสำรวจว่า เปียก หิว หนาว ร้อน หรือมดแมลงกัดหรือเปล่า ค่อยๆสังเกตอย่าใจร้อนและตกใจกับเสียงของเจ้าตัวเล็กจนเียสมาธินะคะ
  • เปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูปทุก 4 ชั่วโมง หรือเมื่อขับถ่ายอุจาระ สำหรับผ้าอ้อมผ้า เปลี่ยนทุกครั้งที่แฉะ เปียก
  • อาบน้ำ วันละ 1 ครั้ง สระผมวันละ 1 ครั้ง ถ้าอาบน้ำตอนเช้า ตอนเย็นให้เช็ดตัว  น้ำที่ใช้ต้องเป้นน้ำอุ่นเท่านั้นค่ะ
  • เปิดแอร์ได้ หากร้อน อุณภูมิห้องเด็ก ควรอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส หากเปิดพัดลมไม่ควรสัมผัสทารกโดยตรง
  • ถุงมือ ไม่ควรสมใส่ถุงมือตลอดเวลา เพราะเป็นการปิดกั้นพัฒนาการลูก เด็กวัยแรกเกิดหากใช้มือสัมผัสกับสิ่งรอบข้าง กำๆ แบๆ บ่อยๆ เป็นการเสริมสร้างเส้นใยประสาท เป้นการกระตุ้นที่ดีมาก
  • ห่อตัว ไม่ควรห่อตัวลูกหากไม่จำเป็น  เพราะเด็กสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้แล้ว ห่อตัวเมื่ออกนอกบ้าน เช่นไปฉีดวัคซีน  ตรวจสุขภาพ เท่านั้น

การดูแลทารกแรกเกิดไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถของคุณแม่อย่างคุณ เทคนิคการเลี้ยงลูกให้มีความสุขในช่วงวัยนี้คือ สังเกตุความต้องการและตอบสนองให้ตรงจุดเพราะเด็กแต่ละคนความต้องการแตกต่างกัน แค่นี้คุณก็เป็นคุณแม่มืออาชีพแล้วค่ะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. พัฒนาการและการเลี้ยงลูกวัย 1-2 เดือน

2. จุกนม แบบไหนเหมาะกับเด็กมากที่สุด

3. อายุของขวดนม ตัวเลข สัญลักษณ์ต่างๆในขวดนมแม่ต้องรู้

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

หมายเหตุ

บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของเว็บไซต์ http://www.mamaexper.com หากท่านใดต้องการนำบางส่วนหรือทั้งหมดไปใช้หรือไปดัดแปลงเพื่อเผยแพร่ กรุณาติดต่อขออนุญาตที่ support@mamaexpert.com ก่อน
และให้เครดิตแก่ทางเว็บไซต์ http://www.mamaexpert.com
โดยใส่ลิงค์กลับมาที่ http://www.mamaexpert.com ด้วย