ADHD หรือโรคสมาธิสั้น โรคของเด็ก โรคใกล้ตัวที่แม่ไม่ควรมองข้าม!!!

18 December 2019
6849 view

ADHD

สมาธิสั้น หรือ ADHD (attention deficit hyperactivity disorder) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของสมองส่วนหน้า ง่ายๆ คือทำให้ควบคุมตัวเองไม่ได้ อยากเล่นก็ไป เล่น ทำงานไม่เสร็จ อยู่นิ่งไม่ได้ หลายครั้งที่ผู้ปกครองมักสับสนกับเด็กไฮเปอร์ ดังนั้นวันนี้หมอเลยยกอาการที่ชวนสงสัยโรค สมาธิสั้นมาให้ค่ะ

อาการของเด็กสมาธิสั้น (ADHD)

อาการส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้ปกครองนำเด็กมาพบแพทย์ มักเป็นปัญหาด้านการเรียนหรือปัญหา ด้านพฤติกรรม ผลการเรียนที่ตกต่ำลง ชอบเดินไปเดินมาในห้องเรียน ชวนเพื่อนคุย จนบาง ครั้งถูกมองว่าเป็น ตัวป่วนของห้องเรียน ซนมาก (เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน) ชอบนั่งใจลอย และขาดสมาธิ โดยทั่วไปแล้วอาการของโรคสมาธิสั้น จะแบ่งออกเป็น 3 ด้านหลักๆ คือ 

1. อาการขาดสมาธิ (attention deficit) เด็กมักขาดสมาธิในงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ ซึ่งจะ สังเกตได้ชัดในงานที่ต้องใช้สมาธิมาก เช่น การเรียนหนังสือ หรือการทำการบ้าน โดยอาจ แสดงออกมาทางการเหม่อลอย จนทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่เสร็จ หรือชอบทำของหาย บ่อยๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์การเรียน ขี้ลืมบ่อย ลืมทำการบ้านที่ครูสั่ง หรือลืมหยิบสมุดการบ้านกลับมา 

2. อาการซน (impulsivity) ซนมากกว่าเด็กในวัยเดียวกันคนอื่น อยู่นิ่งไม่ได้ เวลานั่งก็ยุกยิก ต้องลุกเดินไปมา ชอบเดินรอบห้องหรือชวนเพื่อนคุยขณะครูสอน 

3. อาการหุนหันพลันแล่น (hyperactivity) มักไม่สามารถรอคอยได้  เช่น ไม่ต่อแถวซื้ออาหาร ชอบพูดโพล่งในสิ่งที่ตัวเองคิดทันที เช่นการตอบคำถามทันทีทั้งที่ยังฟังไม่จบ ชอบพูดแทรก ระหว่างบทสนทนาของคนอื่น อาจสังเกตได้จากการพูดแทรกขณะครูกำลังสอน เวลาเจอของที่ สนใจหรือต้องการจะวิ่งตรงเข้าไปหาทันทีโดยไม่ขออนุญาต เช่นเห็นของเล่นที่ชอบในห้าง อาการทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดจากความขี้เกียจ ความไม่ใส่ใจ หรือไม่เชื่อฟัง แต่เป็นจากการ ทำงานของสมองและสารสื่อประสาทที่ผิดปกติ

อย่างไรก็ดี คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนนะคะ ว่าโดยปกติเด็กแต่ละวัยจะมีสมาธิไม่ เท่ากันอยู่แล้ว เด็กเล็กจะมีสมาธิสั้นกว่าเด็กโต ในเด็กเล็กๆ ช่วงขวบปีแรกจะมีสมาธิไม่เกิน 2-3 นาที หลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือในช่วง 1-2 ขวบประมาณ 3-5 นาที วัยอนุบาลประ มาณ 5-15 นาที และช่วงประถมต้นได้นานถึง 15-30 นาทีขึ้นไป ดังนั้นจะนำเด็กเล็กมา เปรียบเทียบกับเด็กโตไม่ได้ 

สมาธิสั้น หรือ ADHD วินิจฉัยอย่างไร?

การวินิจฉัยเด็กสมาธิสั้น เด็กที่ซนทุกคนอาจไม่ใช่เป็นสมาธิสั้น การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น ต้องทำการซักประวัติจากพ่อแม่และครูที่โรงเรียน ร่วมกับการตรวจ ร่างกายในบางกรณี เพื่อหาสาเหตุอื่นที่อาจทำให้มีอาการคล้ายโรคสมาธิสั้นได้ 

โดยหมอจะมีเกณฑ์วัดโรคสมาธิสั้น ได้แก่ มีอาการขาดสมาธิหรืออยู่ไม่นิ่ง-หุนหันพลันแล่น ก่อนอายุ 7 ปี ติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน มีอาการอย่างน้อยใน 2 สถานการณ์ขึ้นไป เช่น มีอาการทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน อาการต้องส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง และอาการต้องไม่เข้ากับโรคทางจิตเวชอื่นๆ ***ไม่ควรวินิจฉัยเองและซื้อยาหรืออาหารเสริมกินเองนะคะ เพราะผลเสียอาจตกกับน้องได้ค่ะ

ถ้าเป็นสมาธิสั้น (ADHD) แล้วจะรักษาอย่างไร? 

การช่วยเหลือดูแลเด็กที่เป็นสมาธิสั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ได้แก่ ตัวเด็ก ผู้ปกครอง และครูที่ดูแลเด็กที่โรงเรียน นอกจากนั้นการรักษาจำเป็นต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกันในการดูแลเพื่อให้ได้ผลการรักษาดีที่สุด การรักษาประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 

  1. การรักษาด้วยยา methylphenidate เป็นยาช่วยเพิ่มสมาธิ หรือช่วยปรับสมดุลของสมอง
  2. การปรับพฤติกรรมโดยนักกิจกรรมบำบัด
  3. การปรับพฤติกรรมต่อเนื่องที่บ้าน 

นอกจากนี้สังคมปัจจุบัน ใช้สมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตในการเลี้ยงลูก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ ทำให้เด็กสมาธิสั้น เราสามารถป้องกันสมาธิสั้นง่ายๆ ด้วยการลดเวลาหน้าจอของลูกนะคะ

บทความโดย: พญ.พรนิภา ศรีประเสริฐ (กุมารแพทย์)

ติดตามเรื่องเด็กๆ by หมอแอม ตอบทุกปัญหาเกี่ยวกับเด็ก
ในรูปแบบ VDO "ทุกวันพฤหัสบดี" ได้ที่ ช่อง youtube : Mamaexpert official