แก้ปัญหาภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมป้องกันโรคติดเชื้อในโรงเรียน ได้ง่ายด้วยตัวช่วยดีๆ

22 November 2019
9391 view

เพราะโรคภูมิแพ้เป็นโรคฮิตอันดับต้นๆ ของวัยเด็ก รวมทั้งโรคติดเชื้อในโรงเรียนก็เป็นอีกโรคที่ผู้ปกครองให้ความสำคัญไม่แพ้กัน ทาง Pharmax & iCare เล็งเห็นความสำคัญจึงจัดสัมนาพิเศษ ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพลูกน้อยที่เป็นโรคภูมิแพ้ และการดูแล ป้องกันกันโรคติดเชื้อในโรงเรียน โดยมี พญ.สุรีรัตน์ พงศ์พฤกษา กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรคภูมิแพ้ หอบหืด และวิทยาภูมิคุ้มกัน ประจำศูนย์กุมารเวช และภูมิแพ้ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน มาให้ความรู้ต่างๆ รายละเอียดจะเป็นอย่างไร Mamaexpert ได้รวบรวมมาให้แล้วค่ะ

รู้จักโรคภูมิแพ้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งกระตุ้น เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสรพืช และหากเกิดการตอบสนองอย่างมาก ทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ได้ ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคภูมิแพ้นั้นเกิดได้จากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ประมาณร้อยละ 30-50 แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้จะมีผลให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้นถึงร้อยละ 50-701 และจากการสำรวจในประเทศไทยพบว่ามีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น 3-4 เท่า ภายในระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ทั้งโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, โรคหลอดลมอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคหืด, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ และโรคแพ้อาหาร ซึ่งมักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ 

โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่รบกวนคุณภาพชีวิตของเด็ก เช่น คัดจมูกในตอนกลางคืนทำให้นอนหายใจทางปาก ตื่นมาไม่สดชื่น อาจง่วงในขณะเรียน ส่งผลต่อการเรียนได้ และที่สำคัญอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูก หูชั้นกลางอักเสบ นอนกรน1 ดังนั้นแล้วการดูแลรักษาเมื่อลูกเป็นโรคภูมิแพ้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ต้องรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง ให้ลูกรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายอีกด้าน หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดการแพ้ได้ 

นอกจากนี้แล้วเรื่องที่ผู้ปกครองกังวลและคณหมอเองก็กังวลไม่แพ้กัน คือ โรคติดเชื้อในโรงเรียน ซึ่งมักเกิดขึ้นได้บ่อย ติดต่อกันได้ง่าย จากเพื่อนในชั้นเรียน บางครั้งติดต่อหรือเป็นกันทั้งห้อง เช่น ท้องเสียซึ่งเกิดจากเชื้อโรต้าไวรัส หรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และวิธีที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อในโรงเรียน และให้ลูกได้ไปโรงเรียนทุกวัน ก็คือการเสริมสร้างภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับลูก ซึ่งในปัจจุบันมีการศึกษาและค้นพบตัวช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคให้กับลูกมากขึ้น 

ภูมิคุ้มกันดีๆ จากโพรไบโอติก

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ในร่างกายของเราจะมีจุลินทรีย์ ส่วนมากจะเป็นพวกแบคทีเรีย พบได้มากในระบบทางเดินอาหาร เป็นเชื้อที่มีประโยชน์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับจากแม่ตอนคลอด จากเมือกบริเวณช่องคลอด และได้รับจากน้ำนมแม่ เช่น แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี รวมทั้งสารพรีไบโอติกซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์เชื้อดีเหล่านี้ ซึ่งจุลินทรีย์เชื้อดีพวกนี้มีประโยชน์มาก เพราะจะทำหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น ช่วยในการย่อยอาหาร กำจัดเชื้อร้ายก่อโรค และมีส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นและเสริมภูมิคุ้มกัน2 และในปัจจุบันยังพบว่าโพรไบโอติกที่ชื่อว่า Lactobacillus reuteri Protectis เป็นโพรไบโอติกที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิแพ้ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาที่ประเทศสวีเดน โดยให้หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคภูมิแพ้ ซึ่งมีโอกาสสูงมากที่ลูกจะเกิดโรคภูมิแพ้ตามพันธุกรรม โดยให้แม่ทานโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis 1 เดือนก่อนคลอด จากนั้นเมื่อคลอดแล้วก็ให้ลูกกินโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis นี้ต่อไปอีก 1 ปี แล้วตามดูอัตราการเกิดผื่นภูมิแพ้ไปจนลูกอายุ 2 ปี โดยเป็นการศึกษาเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอก จากการศึกษาก็พบว่ากลุ่มที่กินโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis มีอัตราการเกิดผื่นภูมิแพ้น้อยกว่ากลุ่มที่กินยาหลอกถึง 12% และที่สำคัญไม่พบการเกิดผลข้างเคียงหรืออันตรายจากการกินที่แตกต่างจากการกินยาหลอกอีกด้วย ซึ่งช่วยยืนยันได้ว่ากินโพรไบโอติกตัวนี้วันละ 100 ล้าน CFUs มีประสิทธิภาพที่ดีในการเสริมภูมิคุ้มกัน หญิงตั้งครรภ์และเด็กทารกสามารถกินได้ และสามารถกินได้นานเป็นปีๆ อย่างปลอดภัย3 

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis ในประเทศแม็กซิโก โดยศึกษาเด็กที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็กจำนวน 300 กว่าคน โดยให้กลุ่มหนึ่งกินโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis วันละ 100 ล้าน CFUs และอีกกลุ่มกินยาหลอก โดยให้กินทุกวันติดต่อไป 3 เดือน และติดตามต่อไปอีก 3 เดือน รวมเป็น 6 เดือน ก็พบว่า กลุ่มที่กินโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis ท้องเสีย และติดเชื้อทางเดินหายใจต่ำกว่ากลุ่มที่กินยาหลอก จำนวนวันที่ขาดเรียนก็น้อยกว่า จำนวนครั้งที่ต้องไปโรงพยาบาลหาหมอก็น้อยกว่า และที่สำคัญ เด็กกลุ่มที่กินโพรไบโอติกได้รับยาปฏิชีวนะน้อยกว่า4 

และยังมีการศึกษาอีกว่าการกินโพรไบโอติกในเด็กที่เป็นผื่นภูมิแพ้นั้นช่วยลดผื่นภูมิแพ้ ช่วยลดอาการคัน และการรบกวนการนอนได้5 และยังพบอีกว่าในเด็กที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคหืด ชนิดที่ไม่รุนแรง เมื่อกินโพรไบโอติกชนิดนี้จะช่วยลดการอักเสบลงมาได้ ซึ่งเกิดจากฤทธิ์ในการลดการอักเสบของโพรไบโอติกตัวนี้6 

เห็นไหมคะว่าโพรไบโอติกนั้นมีส่วนสำคัญในการช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูก หากคุณพ่อคุณแม่เกิดความสงสัยว่าโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis อันตรายหรือไม่นั้น มาฟังคำตอบกันค่ะ

โพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis อันตรายหรือไม่ หาทานได้จากที่ไหนบ้าง?

โพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis เป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างปลอดภัย เพราะเป็นโพรไบโอติกที่มาจากน้ำนมแม่ และในปัจจุบันมีทั้งที่ผสมอยู่ในนมผงบางยี่ห้อ และเป็น Food supplement ที่อยู่ในรูปเม็ดเคี้ยวและแบบหยด หาได้ตามร้านขายยาทั่วไป ซึ่งโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis นั้น มีจำหน่ายใน 99 ประเทศทั่วโลก2 ส่วนการรับประทานนั้นสามารถทานทุกเพศทุกวัย หากทานเพื่อบรรเทาอาการท้องเสีย ทานประมาณ 7-10 วัน แต่ถ้าใช้เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน แนะนำให้ทานได้เรื่อยๆ หรือนานเป็นปีก็ได้ค่ะ

เห็นแล้วใช่ไหมคะว่าโรคภูมิแพ้ และการป้องกันโรคติดเชื้อจากโรงเรียนนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ยากอีกต่อไป เพราะคุณพ่อคุณแม่ทำได้ง่ายๆ ด้วยการใส่ใจสุขภาพลูกรัก ดูแลเรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย รวมทั้งการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับลูกด้วยการทานโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยได้นะคะ 

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

อ้างอิง : 

  1. รศ.นพ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์. โรคภูมิแพ้ในเด็ก ตอนที่ 1. The allergy, Asthma and immunology association of Thailand; http://allergy.or.th/2016/resources_expert_detail.php?id=92
  2. Ramesh Srinivasan. Et.al. Lactobacillus reuteri DSM 17938: Review of Evidence in Functional Gastrointestinal Disorders. Pediatr Ther 2018, 8:3, DOI: 10.4172/2161-0665.1000350.
  3. Thomas R. Abrahamsson. Et.al. Probiotics in prevention of IgE-associated eczema: A double-blind, randomized, placebo-controlled trial. J Allergy Clin Immunol, 2007;119:1174-80.
  4. Pedro Gutierrez-Castrellon. et.al. Diarrhea in Preschool Children and Lactobacillus reuteri: A Randomized Controlled Trial. Pediatrics, 2014;133:e904–e909. 
  5. N. Gromert and I.Axelsson. Lactobacillus reuteri effect on atopic eczema in childhood. J Pediatr Gastroenterol Nutr, 2009; 48, Suppl 3, E148-149.
  6. Miraglia Del Guidce M. et.al. Airways allergic inflammation and L. reuteri treatment in asthmatic children. Journal of Biological Regulators & Homeostatic Agents, 2012; 26 (1),35-40.