อย่าและไม่ คำที่พ่อแม่ไม่ควรพูดบ่อย เพราะอะไรมาหาคำตอบกัน

26 February 2018
9986 view

คำที่พ่อแม่ไม่ควรพูดบ่อย

เมื่อเป็นพ่อแม่แล้ว จะพูดอะไรต้องใคร่ครวญไตร่ตรองให้มากขึ้น เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่พ่อแม่ได้ลงมือทำแล้วนั้น เป็นตัวอย่างที่ลูกพร้อมจะเลียนแบบ  และมีคำพูดบางคำที่พ่อแม่ส่อสารออกไปแต่ลูกกลับไม่เข้าใจและมักจะทำตรงข้ามเสมอๆ เช่นคำว่า "อย่า" คำว่า "ไม่" ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆกันค่ะ 

อย่า ห้าม  ไม่  คำที่พ่อแม่ไม่ควรพูดบ่อย

คุณพ่อคุณแม่มักจะห้ามนู่น นี่ นั่น เพราะคิดว่าลูกทำแล้วอาจไม่ดี หรือ อันตรายกับลุกแน่ๆ แต่พ่อแม่ยังพูดไม่จบประโยค ลูกกลับทำสิ่งนั้นสำเร็จเรียบร้อยเช่น

อย่าปีนนะลูก !!!  สิ่งที่เกิดขึ้น  ลูกปีนขึ้นอย่างไว 
ห้ามเทนะลูก  !!!  สิ่งที่เกิดขึ้น   ลูกน้อยคว่ำจานเสียแล้ว
ไม่ฉีกนะลูก   !!!  สิ่งที่เกิดขึ้น   ลูกฉีกขาดเป็นชิ้นๆเรียบร้อยแล้ว 

ทำไมลูกไม่ทำตาม 

เป็นเช่นนี้เพราะเป็นธรรมชาิของเด็กวัย 3 -4 ขวบ ยิ่งห้ามจะเหมือนยิ่งยุ ส่วนหนึ่งมาจากลำดับการคิด กระบวนการคิดในสมองของเด้กยังพัฒนาได้ไม่เต้มที่ อย่า ไม่ ห้าม  เป็นคำสั่งที่ซับซ้อน การใช้คำอื่นหรือพูดเชิงบวกอาจได้ผลกว่า และสิ่งสำคัญคือการเลี้ยงดู พ่อแม่พูดคุยหรือทำความเข้าใจ ไม่นานนักเด็กจะปรับตัวได้ แล้วสามารถทำได้ตามที่เราต้องการ  ส่วนใหญ่มักพบในเด็กที่พ่อแม่ปล่อยให้ลูกทำอะไรตามใจมาตลอด ไม่เคยห้ามหรือไม่เคยว่าเลย จนกว่าจะเกิดเรื่องร้ายแรงหรืออันตรายจริงๆ จึงเข้าไปห้าม พอถึงเวลานั้นอาจจะห้ามลูกไม่ได้แล้ว กลายเป็นว่าเหมือนยิ่งยุให้ลูกทำมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นต้องกลับมาทบทวนดูตัวเองว่าที่ห้ามลูกไม่ได้เป็นเพราะว่าไม่เคยจริงจังในการห้ามลูกหรือเปล่า หรือบางทียุให้ลูกทำอะไรบางอย่างที่ไม่เหมาะสม จนในที่สุดเด็กติดเป็นนิสัย


การพูดเชิงบวกเปลี่ยนนิสัยลูกยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ

การพูดเชิงบวกช่วยเปลี่ยนพฤิกรรมได้เนื่องจาก ฟังดูแล้วไม่ปิดกั้น ฟังดูแล้วลูกไม่ต่อต้าน ฟังดูแล้วลูกนึกภาพออกเห็นด้วยและคล้อยตาม เช่น 

อย่าปีนนะลูก !!!  สิ่งที่เกิดขึ้น  ลูกปีนขึ้นอย่างไว 
ลองพูด บันไดสูงมากลูกอาจตกลงมาเจ็บนะคะ 


ห้ามเทนะลูก  !!!  สิ่งที่เกิดขึ้น  ลูกน้อยคว่ำจานเสียแล้ว
ลองพูด อาหารอร่อยจังหกลงพื้นคงเสียน่าดาย


ไม่ฉีกนะลูก  !!!  สิ่งที่เกิดขึ้น  ลูกฉีกขาดเป็นชิ้นๆเรียบร้อยแล้ว
ลองพูด กระดาษนี้แม่ชอบเก็บไว้ดีๆนะคะ 

การใช้คำพูดเชิงบวก เป็นวิธีที่ลูกรู้สึกไม่ถูกปิดกั้นหรือถูกขัดขวางมากจนเกินไป ถ้าพ่อแม่มีความจำเป็นจะต้องหยุดพฤติกรรมลูกบางอย่างพ่อแม่ต้องมีวิธีการในการห้ามลูกจริงๆ ไม่ใช่ใช้แค่คำพูดอย่างเดียว เช่น ลูกกำลังซนอย่างมาก บางคนเพียงแต่บอกว่าอย่าซนนะลูก แต่นั่งเฉย ไม่ทำอะไรเลย นั่งดูลูกซนต่อไป อย่างนี้ใช้ไม่ได้ผลในเด็กเล็ก นอกจากใช้คำว่าห้ามแล้ว ต้องมีพฤติกรรมของพ่อแม่ด้วยที่จะเข้าไปห้ามลูกจริงๆ เช่น บอกว่า อย่าซนนะลูก ก็ควรเข้าไปดึงลูกออกมาจากของเล่นที่เขากำลังซนอยู่ แล้วหาอย่างอื่นทดแทน เบี่ยงเบนความสนใจของลูก เด็กก็จะหันไปสนใจสิ่งใหม่แทน จะเป็นการสอนให้เด็กได้รู้ว่า เมื่อพ่อแม่พูดคำนี้เป็นความตั้งใจอย่างจริงจัง 

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team