ต้องงดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่! หากแม่หรือลูกป่วยด้วยโรคดังต่อไปนี้

07 March 2016
14149 view

งดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

"นมแม่" เป็นนมที่ดีที่สุดสำหรับทารก คุณแม่ทุกคนต่างมีความตั้งใจและมุ่งมั่นอย่างยิ่งว่า จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ แต่! มีคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถให้นมบุตรได้ เนื่องจากสุขภาพและการเจ็บป่วย รวมถึงยาที่ได้รับ อาจส่งผลกระทบกับลูก จึงมีความจำเป็นต้องงดให้นมบุตร และนอกจากนั้นยังพบว่าเด็กป่วยด้วยโรคบางโรคแพทย์ต้องให้งดดื่มนมแม่ด้วยเช่นกัน

โรคและการเจ็บป่วยที่ต้องงดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

  1. ลูกเป็นโรคกาแลคโตซีเมีย ( galactosemia ) โรคนี้ร่างกายของเด็กไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงกาแล็คโทสให้เป็นกลูโคสได้ เพราะร่างกายขาดเอ็นไซม์ซึ่งจะเป็นตัวเปลี่ยน จำเป็นต้องงดนมทุกชนิด เมื่อแรกเกิดเด็กจะอยู่ในภาวะที่เป็นปกติ แต่เมื่ออายุได้ 2-3 วันก็จะเริ่มมีปัญหากับการได้รับอาหาร เด็กจะเริ่มอาเจียน ถ้าไม่ได้รับการรักษา การเจริญเติบโตก็จะชะงักและอาจถึงตายได้ เนื่องจากการขาดอาหาร
  2. ลูกเป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ( phenylketonuria ) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องทางเมแทบอลิซึมของร่างกาย เด็กที่เป็นโรคนี้จึงไม่สามารถสร้างเอนไซม์ในการย่อยนมแม่ได้
  3. แม่เป็นโรคบรูเซลโลซิส  ( brucellosis ) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียในอวัยวะต่างๆของร่างกาย และพบว่าเชื้อปนเปื้อนมากับน้ำนมแม่ได้ จำเป็นต้องงดนม
  4. เเม่เป็นโรคเอดส์ระยะติดต่อ ( acquired immunodeficiency syndrome )ตัวย่อ AIDS พบว่าเชื้อปนเปื้อนมากับน้ำนมแม่ได้ จำเป็นต้องงดนม
  5. แม่ได้รับยาและสารบางประเภท ได้แก่   ยากลุ่มเคมีบำบัด  ยาเสพติด ได้แก่ โคเคน เฮโรอีนและแอมเฟตามีน สารกัมมันตรังสีในการรักษา  รังสีไอโอดีน-131  และสารนิโคติน ยาและสารบางประเภทที่กล่าวมาส่งผลต่อสุขภาพของทารก จำเป็นต้องงดนมแม่

โรคและการเจ็บป่วยที่ลูกดื่มนมแม่ได้ แต่ห้ามดูดจากเต้า 

แม่ – ลูก กลุ่มนี้ดื่มนมแม่ได้ด้วยการปั๊มนมเท่านั้น ถึงเชื้อจะไม่ผ่านทางน้ำนมแต่ สามารถแพร่กระจายและเกิดการติดเชื้อระหว่างแม่ลูกได้  จำเป็นต้องปั๊มนมให้ลูกดื่ม

  1. คุณแม่เป็นวัณโรคปอดระยะแพร่เชื้อ ที่ยังได้รับยาไม่ครบ 2 สัปดาห์ ให้แยกแม่ลูกลูกกินนมแม่ปั๊มได้ ถ้าครบ 2 สัปดาห์แล้วอาการดีขึ้น แม่ไม่แพร่เชื้อแล้ว ลูกสามารถดูดเต้าได้ตามปกติ
  2. คุณแม่มีแผลเริมที่เต้านมหัวนม ให้งดดูดเต้าจนกว่าแผลจะหาย ลูกกินนมแม่ปั๊มได้
  3. คุณแม่เป็นอีสุกอีใส นับระยะเวลาคือภายใน 5 วันก่อนคลอดจนถึงคลอดบุตรแล้ว2วัน
  4. คุณแม่เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1  ให้แยกแม่ลูกจนกว่าไข้จะลด ลูกกินนมแม่ปั๊มได้
  5. คุณแม่โรคหัด แยกแม่ลูกจนกว่าแม่จะหาย ถ้าลูกติดเชื้อเหมือนแม่ให้ดูดนมจากเต้าได้

เลือก “นมที่ดีที่สุด” ให้ลูกรักอย่างไร หากไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ 

นมแม่เป็นนมที่เหมาะสำหรับเลี้ยงทารกมากที่สุด การเลือกนมให้ลูกรักจึงต้องเลือกนมที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับนมแม่ที่สุด ซึ่งคุณแม่ต้องพิจารณาจากหลายองค์ประกอบด้วยกัน สิ่งสำคัญนอกจากจะต้องคำนึงสารอาหารที่ครบถ้วนแล้ว การย่อย การดูดซึม และการแพ้นมที่อาจจะเกิดขึ้น คุณแม่ต้องคำนึงด้วยเช่นกันค่ะ

นมผงดัดแปลงสำหรับทารกมีให้เลือกทั้งจากถั่วเหลือง วัว และแพะ จากการศึกษาพบว่า นมที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับนมแม่มากที่สุดคือ นมแพะ คุณแม่หลายคนไม่เคยทราบมาก่อนว่า แพะมีการสร้างและหลั่งน้ำนมแบบ อะโพไครน์ เหมือนกับนมแม่ สารอาหารในน้ำนมแพะแต่ละหยดจึงเหมือนกับนมแม่ คือ เป็นนมที่มีความเป็นธรรมชาติสูง หรือ Bioactive Components ซึ่งประกอบด้วย

  • นิวคลีโอไทด์ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • ทอรีน ช่วยให้การทำงานของจอประสาทตาดีขึ้น
  • โพลีเอมีนส์ ส่งเสริมระบบทางเดินอาหารให้สมบูรณ์
  • โกรทแฟคเตอร์ ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต

นอกจากสารอาหารที่มีความเป็นธรรมชาติสูงและครบถ้วนแล้ว โปรตีนที่ได้จากน้ำนมแพะยังเป็นโปรตีนคุณภาพดี เรียกว่า CPP (casein phosphopeptide) ซึ่งเป็นโปรตีนที่นุ่ม ช่วยให้ ร่างกายดูดซึมแคลเซียม เหล็ก และ แร่ ธาตุ ต่างๆได้ดีขึ้นด้วย มีแอลฟา เอสวันเคซีน ซึ่งย่อยยากในปริมาณที่ต่ำกว่านมวัวถึง 8 เท่า ทำให้โปรตีนของนมแพะ เกาะกันเป็นก้อนโปรตีนที่นุ่ม ทำให้ร่างกายย่อยได้ง่าย และรวดเร็วกว่า นอกจากนี้ยังมี  ไขมันห่วงโซ่ขนาดกลาง ( MCT Oil ) ในปริมาณสูงที่ร่างกายสามารถย่อย และนำไปใช้ได้รวดเร็ว ลูกรักจึงมีน้ำหนักสมวัยไม่ตกเกณฑ์ เมื่อเทียบกันแล้ว นมแพะมีปริมาณ โปรตีนก่อแพ้หรือเบต้าแลคโตกลอบบูลิน น้อยกว่าถึง 3 เท่า สารเบต้าแลคโตกลอบบูลิน คือโปรตีนขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ร่างกายย่อยได้ยาก จึงเหลือตกค้างอยู่ในลำไส้เล็ก กลายเป็นสารก่อแพ้ที่กระตุ้นให้ร่างกายแสดงอาการแพ้ออกมาในลักษณะต่างๆ ดังนั้นเด็กที่ดื่มนมแพะจึงมีโอกาสเกิดภูมิแพ้น้อยกว่า

นมแม่คือนมที่ดีที่สุดสำหรับลูกรัก แต่ในวันที่ลูกรักของคุณไม่สามารถดื่มนมแม่ได้ การคัดสรร “นมที่ดีที่สุด” เพื่อลูกรัก จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่มืออาชีพอย่างคุณต้องใส่ใจ

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ 

1. การเปลี่ยนสูตรนมให้ลูก

2. 12ประเภทของนมที่แม่ควรรู้

3. วิธีชงนมเด็กที่ถูกต้อง

เรียบเรียงโดย  : Mamaexpert Editorial Team

ขอบคุณข้อมูล : www.dgsmartmom.com