เตือนภัย!! อันตรายจากหมูกรอบ

30 January 2016
2357 view

หมูกรอบเมนูโปรดของใครหลาย ๆ คน แต่ทราบหรือไม่? หากรับประทานบ่อย ๆ เสี่ยงต่อการเกิดโรคมากมายที่ไม่คาดคิด เพราะหมูกรอบอุดมไปด้วยแคลอรี่สูง หากบริโภคบ่อย ๆ สุขภาพไม่ดีแน่

หมูกรอบนั้นก็มาจากหมูสามชั้นที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ยิ่งนำไปทอดด้วยน้ำมันก็ยิ่งทำให้ไขมันอิ่มตัวสูงขึ้นกว่าปกติ และไขมันอิ่มตัวนี้ล่ะที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจ ทำให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ

และไขมันในเส้นเลือด พลังงานจากหมูกรอบที่ได้รับก็สูงมากเกินไป ทำให้มีสิทธิ์เป็นโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคสมองเสื่อม และโรคมะเร็ง

ไม่เพียงเท่านั้น ยิ่งถ้าหากน้ำมันที่ใช้ทอดเป็นน้ำมันที่ผ่านการใช้ซ้ำมาแล้ว ก็จะยิ่งทำให้เสี่ยงกับการได้รับสารพิษที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างไขมัน อาทิ สารโพลาร์ที่เป็นตัวก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

โรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร โรคหัวใจและหลอดเลือด ขณะที่ไอของน้ำมันที่ทอดซ้ำก็ยิ่งซ้ำเติมให้เกิดปัญหาสุขภาพ อันเนื่องมาจากสารโพลีไซคลิก โฮโดรคาร์บอนด์ (PAHs) ที่มีพิษร้ายแรงเช่นเดียวกับควันจากรถยนต์

original-1361177893828

ไฟจากการหุงต้ม และควันจากโรงงานอุตสาหกรรม การสูดดมเข้าติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้เสี่ยงโรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็งปอด และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าในอาหารทอดมีสารอะคริลาไมด์ เมื่อสะสมในร่างกายมาก ๆ ก็จะกลายเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็งหลากหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น

นอกจากอันตรายจากน้ำมันที่ทอดและไขมันในหมูกรอบแล้ว ความเค็มที่มาจากการหมักหมูกรอบก่อนนำไปทอด ทั้งเกลือและซีอิ้วต่างก็มีโซเดียมสูงมาก และการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมบ่อย ๆ

จะทำให้ปริมาณโซเดียมในร่างกายสูงขึ้น และนำปัญหาสุขภาพมาเยี่ยมเยียนแบบไม่ได้นัดหมาย อย่างเช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคกระดูก

ถ้าคิดว่าโซเดียมในหมูกรอบมีไม่เยอะละก็ บอกเลยว่าคิดผิด เพราะข้าวหมูกรอบเพียง 1 จานก็มีโซเดียมถึง 700-1,000 มิลลิกรัม และเมื่อเทียบในอัตราส่วนของโซเดียมที่ควรได้รับในแต่ละวันซึ่งอยู่ที่ 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน ก็ถือว่าเป็นอาหารที่ควรจะอยู่ห่าง ๆ เลยเสียดีกว่า

ส่วนในเรื่องของผลกระทบของสุขภาพต่อการรับประทานหมูกรอบบ่อย ๆ นั้น รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เองก็ได้มีการสนับสนุนของเท็จจริงเช่นเดียวกัน

และได้เปิดเผยไว้ในเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ว่า แม้หมูกรอบจะไม่ดีต่อสุขภาพอย่างมาก แต่ถ้าหากรับประทานไม่บ่อยก็จะไม่ส่งผลเสียสักเท่าไร เช่นเดียวกับคำแนะนำของ ดร.ฉัตรภา ที่แนะนำไม่ควรรับประทานเกินสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง และควรรับประทานควบคู่กับอาหารอื่น ๆ ที่มีกากใยสูง เช่นผักต้ม ผักสด

และหลีกเลี่ยงการรับประทานหมูกรอบที่นำไปผัดกับน้ำมัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายเผาผลาญไขมันสะสมออกจากร่างได้ เพื่อลดปัญหาอ้วนลงพุง

ที่มาจาก ครอบครัวข่าว 3