ห่อตัวทารกอย่างถูกวิธี ให้ลูกน้อยสบายตัว ไม่เสี่ยงโรคไหลตาย

19 May 2022
1446 view

ห่อตัวทารกอย่างถูกวิธี  ไม่เสี่ยงโรคไหลตาย

.

.

ระหว่างที่อยู่ในครรภ์มารดา 9 เดือนเด็กทารกได้รับการปกป้องและความอบอุ่นอย่างเต็มที่ และเมื่อคลอดออกมาลืมตาสู่โลกกว้างแล้ว จึงยังปรับตัวไม่ได้กับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง การห่อตัวจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายของเด็กทารกได้เหมือนกับอุณหภูมิที่อยู่ในท้องมารดามากที่สุด เพราะฉะนั้นการห่อตัวเด็กทารกแรกเกิดจึงจำเป็นมาก เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกสบาย ปลอดภัย ไม่ตกใจกลัว แถมการห่อตัวเด็กที่ถูกวิธียังช่วยลดความเสี่ยงโรคไหลตายในเด็กได้อีกด้วย วันนี้เรามีวิธี ห่อตัวทารก อย่างถูกวิธีมาแนะนำ ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันเลยดีกว่าว่าจะมีวิธีไหนกันบ้าง

ห่อตัวทารก สำคัญอย่างไร

เด็กทารกทุกคนหลังลืมตาดูโลกจะร้องไห้เป็นอันดับแรก นั่นก็เพราะว่าสัมผัสถึงอุณหภูมิที่แตกต่างจากท้องมารดา ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัย จึงส่งเสียงร้องออกมา ดังนั้นหลังอาบน้ำชำระร่างกายให้กับทารกแรกเกิดแล้ว พยาบาลจะห่อตัวให้กับทารก เพื่อช่วยให้เด็กได้รับความอบอุ่นเหมือนกับตอนที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำ และทำให้เด็กค่อยๆ ปรับตัวกับสภาพอากาศสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ได้ดี ซึ่งระยะเวลาในการห่อตัวทารก ไม่ได้มีกำหนดแน่ชัดอยู่ที่ความเหมาะสม และอาจพิจารณาเลิกห่อเมื่อลูกน้อยเริ่มพลิกและกลับตัวได้แล้วนั่นเอง

วิธีการห่อตัวที่ถูกต้อง

การ ห่อตัวทารก ที่ถูกวิธีจะช่วยให้เด็กทารกอบอุ่น สบาย และหลับง่ายขึ้น โดยกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้คำแนะนำวิธีการห่อตัวเด็กด้วย ผ้าห่อตัวทารก เพื่อความปลอดภัยดังนี้

1.ห่อตัวอย่างถูกวิธี

การ ห่อตัวทารก ที่ปลอดภัยและถูกวิธีนั้นจะมีด้วยกัน 3 วิธีดังนี้

  • การห่อผ้าบริเวณตัวและปกคลุมส่วนศีรษะของเด็กทารก เว้นไว้แค่เพียงบริเวณใบหน้าเท่านั้น
  • การห่อผ้าบริเวณลำตัว และคลุมถึงส่วนคอของเด็กทารก
  • การห่อผ้าครึ่งตัวของเด็กทารก

2.การห่อตัวเด็กในท่านอนหงาย

เพื่อให้เด็กทารกนอนหลับสบายในท่านอนหงาย การ ห่อตัวทารก จะช่วยให้หลับสบายมากยิ่งขึ้นเพราะได้รับความอบอุ่น แต่ท่านอนหงายคุณแม่จะต้องเฝ้าระวังคอยติดตามดูลูกเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยจะไม่พลิกตัวนอนคว่ำหรือนอนตะแคงข้าง ในระหว่างที่ห่อตัวนอนขณะที่หลับอยู่

3.ระวังไม่ให้ลูกร้อนเกินไป 

การห่อตัวด้วย ผ้าห่อตัวทารก จะทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าปกติ คุณแม่จะต้องคอยสังเกตร่างกายของลูกอย่างสม่ำเสมอ  เพราะหากลูกมีอุณหภูมิร่างกายร้อนมากกว่าปกติ มีเหงื่อออกตามตัว หัวเปียก แก้มแดง หรือมีผื่นขึ้นจากความร้อน ก็ควรคลี่ผ้าห่อตัวออก

4.ที่นอนไม่นุ่มเกินไป 

ระหว่างที่ห่อตัวทารกนอนคุณแม่ควรแยกที่นอนลูกออกจากที่นอนพ่อแม่ เพื่อป้องกันพ่อแม่นอนทับ หรืออุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงและไม่ควรเลือกที่นอนของลูกนุ่มเกินไปจนเป็นแอ่งเพราะเสี่ยงที่ลูกจะนอนคว่ำและที่นอนไปอุดจมูกเด็กได้

5.ใช้จุกนมหลอกช่วยให้หลับ 

การใช้จุกหลอกจะช่วยให้ลูกนอนหลับสนิทมากยิ่งขึ้น และการใช้จุกหลอกในเด็กทารกยังช่วยลดความเสี่ยงโรคนอนไหลตายได้อีกด้วย 

ห่อตัวลูกผิดวิธีเสี่ยงไหลตายได้

แม้ว่าการ ห่อตัวทารก จะช่วยให้เด็กนอนหลับง่ายขึ้น แต่ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดรคไหลตาย หรือ sudden infant death syndrome (SIDS )เพราะหากห่อตัวผิดวิธีเสี่ยงที่ลูกจะพลิกคว่ำในขณะที่ห่อตัวทำให้ขาดอากาศหายใจได้เช่นกัน เนื่องจากแขนขาทุกส่วนถูกห่อไว้ไม่สามารถที่จะขยับช่วยเหลือตัวเองได้ นอกจากนี้ผลวิจัยยังพบว่าเด็กที่ห่อตัวนอนขณะที่หลับอัตราการเต้นของหัวใจจะสูงกว่าเด็กทารกที่ไม่ได้รับการห่อตัว และถ้าทารกมีความบกพร่องในการควบคุมการทำงานของหัวใจก็เสี่ยงที่จะไม่สามารถปลุกให้ตื่นจากการหลับ ก่อให้เกิดโรคนอนไหลตายได้เช่นกัน

ผ้าห่อตัวเด็กทารก ควรเลือกอย่างไร

การใช้ผ้าห่อตัวในเด็กทารกแรกเกิดจะทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย ไม่สะดุ้งตื่น และหลับสนิทได้นานขึ้น ดังนั้นการเลือกผ้าห่อตัวสำหรับเจ้าตัวเล็กจึงสำคัญมาก คุณแม่ควรเลือกให้เหมาะสมไม่ให้เล็กหรือใหญ่จนเกินไป โดยหลักในการเลือก ผ้าห่อตัวทารก ก็จะมีดังนี้

1.เลือกผ้าที่ทำจากใยธรรมชาติ

เพราะผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติจะมีความนุ่ม และระบายอากาศได้ดี เส้นใยธรรมชาติจะมีคุณสมบัติในการซึมซับน้ำ เมื่อใช้จะไม่ทำให้ลูกร้อนหรือเกิดการเหนียวตัว และที่สำคัญไม่ระคายเคืองผิวด้วยนั่นเอง

2.เลือกผ้าให้เหมาะกับสภาพอากาศ

หากสภาพอากาศในช่วงนั้นอยู่ในช่วงหน้าร้อน คุณแม่ควรเลือกผ้าที่บางระบายอากาศได้ดี แต่ถ้าอยู่ในช่วงหน้าหนาวควรเลือกผ้าที่หนาพอที่จะให้ความอบอุ่นมากยิ่งขึ้น

3.เลือกผ้าห่อตัวขนาดที่เหมาะสม

การห่อตัวที่ดี ควรเลือกที่เหมาะสมไม่ใหญ่เกินไปและไม่เล็กจนเกินไป โดยขนาดของเด็กแรกเกิดที่เหมาะสมอยู่ที่ 47″x 47ก่อนซื้อควรดูขนาดและไซส์ก่อนเสมอ

และนี่คือวิธีเลือกผ้า ห่อตัวทารก ที่เราได้นำมาฝากคุณแม่ในวันนี้ การเลือกผ้าที่ดีจะช่วยให้ลูกสบายตัวมากยิ่งขึ้น บทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์ให้คุณแม่ไม่มากก็น้อย รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมห่อตัวให้ลูกน้อยอย่างถูกวิธีเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไหลตายในเด็กนั่นเอง

.

บทความแนะนำเพิ่มเติม

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team