ครรภ์แฝด แฝดแท้ แฝดเทียม เกิดขึ้นได้อย่างไร ดูแลครรภ์แฝดอย่างไรให้แข็งแรง

14 November 2016
59785 view

ครรภ์แฝด



ปัจจุบันมีคู่แฝดเกิดขึ้น 2 คู่ในการเกิดเด็ก 100 คน เป็นที่น่ายินดีต่อญาติมิตรสำหรับข่าวที่ว่ามีการตั้งครรภ์ครั้งเดียวได้ บุตร 2 คน  เพราะการตั้งครรภ์แต่ละครั้งใช้เวลายาวนานถึง 9 เดือน  และบางครอบครัวต้องใช้ความพยายามอย่างมากกว่าจะมีบุตร  ผมจึงอยากจะเล่าความเป็นไปได้ถึงการตั้งครรภ์แฝดพอสังเขป  คือ

การเกิดครรภ์แฝด

เมื่อ มีการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิในท่อนำไข่  ตัวอ่อนที่เกิดขึ้นก็จะแบ่งตัวพร้อมกับเดินทางไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก เจริญเป็นทารกต่อไป  ซึ่งตอนที่อยู่ในท่อรังไข่นี้  ที่ตัวอ่อนจะเกิดเป็นแฝดขึ้นได้

ครรภ์แฝดเกิดขึ้นได้อย่างไร

  • การเกิดจากไข่ 2 ใบ  โดยแต่ละใบผสมกับอสุจิใบละ 1 ตัว  แล้วเป็นตัวอ่อน ต่างก็เดินทางไปฝังตัวที่ในโพรงมดลูก
  • ถ้าเกิดจากไข่ใบเดียว  เริ่มต้นจากไข่ 1 ใบ ผสมกับตัวอสุจิ 1 ตัว แล้วแบ่งตัว  แต่ตอนที่เป็น 2-4 เซลล์  อาจจะมี 1-2 เซลล์ แยกออกมาเป็น 2 กลุ่มเซลล์ของตัวอ่อน  แล้วแยกกันฝังตัว
  • ตอนที่เข้าไปในโพรงมดลูกแล้ว ขณะเป็น Blastocyst  แล้วกำลังจะสร้างส่วนที่เป็นเซลล์ทารกเกิดเจริญแยกกันเป็นทารก 2 คน  อยู่ในถุงน้ำคร่ำเดียวกันอาศัยรกเดียวกัน

ดังนั้นกรณีเกิดจากไข่ 2 ใบ จะแยกกันตั้งแต่แรกและมี Gene แตกต่างกัน หน้าตา ผิวพรรณอาจแตกต่างกันและเป็นคนละเพศได้แต่ กรณีที่เกิดจากไข่ใบเดียว ลักษณะ Gene จะเหมือนกัน  อาจแยกกันตั้งแต่อยู่ในท่อนำไข่ หรือเมื่อตอนฝังตัวแล้ว  และจะมีหน้าตา ผิวพรรณเหมือนกัน และเพศเดียวกัน เลือดกรุ๊ปเดียวกัน เรียกว่า Identical Twins Identical Twins เกิดน้อยกว่าแบบจากไข่หลายใบมาก มักเกิดจากอุบัติเหตุของธรรมชาติ แต่พวกที่ เกิดจากไข่หลายใบมักมีประวัติทางกรรมพันธุ์ และปัจจุบันเกิดจากการกระตุ้นการตกไข่หลายใบ  หรือ การผสมเทียมในหลอดแก้ว (IVF) ซึ่งใส่ตัวอ่อนคราวละมากกว่า 1 ตัวอ่อน

การวินิจฉัยตั้งครรภ์แฝด

ปัจจุบัน มีการวินิจฉัยได้ก่อนเด็กเกิดเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะมีเครื่องมือตรวจ มาก เช่น เครื่องอัลตราซาวนด์ จะตรวจพบได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์แฝดมีความแตกต่างจากครรภ์เดี่ยวอย่างไร

คนที่ตั้งครรภ์แฝดควรได้รับการดูแลตัวเองและเรื่องการฝากครรภ์เป็นพิเศษกว่า ธรรมดา นัดพบแพทย์บ่อยกว่าธรรมดา  ตรวจพิเศษบ่อยกว่ามากและบ่อยกว่าธรรมดา และควรได้เข้า Class ก่อนคลอดสำหรับคนตั้งครรภ์แฝด เพราะมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า แตกต่างกว่าครรภ์เดี่ยว

อาหารบำรุงครรภ์คุณแม่ครรภ์แฝด

แม่ควรได้รับสารอาหารในปริมาณมากกว่าปกติ ปริมาณวันละ 2,500 แคลลอรี่ ควรให้มีน้ำหนักขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 15-20 กก. ขึ้นในไตรมาสแรก สัปดาห์ละ 0.5 กก. และในครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ขึ้นสัปดาห์ละมากกว่า 0.5 กก.เล็กน้อย  ถ้าน้ำหนักขึ้นน้อย อาจทำให้ทารกน้ำหนักน้อยเกิน แต่ถ้ารับประทานมาก เกิน น้ำหนักมากเกินก็ไม่ดีเช่นกัน วิตามิน เหล็กและแคลเซียม ควรได้มากกว่าธรรมดาเพราะต้องเลี้ยงทารกในครรภ์มากขึ้น คนที่ตั้งครรภ์แฝด มักมีโลหิตจางมากกว่าตั้งครรภ์เดี่ยว

การพักผ่อนของคุณแม่ครรภ์แฝด

ท้องของครรภ์แฝดจะโตกว่าครรภ์เดี่ยว อึดอัดมากกว่า  ต้องออกแรงเคลื่อนไหวมากกว่า และต้องใช้ energy มากกว่า  ดังนั้นร่างกายก็ต้องการการพักผ่อนมากกว่าด้วย ควรปรึกษาแพทย์เรื่องงานของ คุณ และควรปรึกษาแพทย์เมื่อคุณรู้สึกเหนื่อยเกินหรือไม่สบายตัว

ครรภ์แฝดมีความเสี่ยงอะไรบ้าง

ตั้งครรภ์แฝดจะมีความเสี่ยงต่อโลหิตจาง ความดันโลหิตสูง  หรือครรภ์เป็นพิษ คนที่โน้มเอียงเป็นเบาหวานจะแสดงอาการมากขึ้น ลูกมีโอกาส คลอดออกมาตัวเล็กกว่าธรรมดา มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดและความเสี่ยง ต่อทารกเจริญเติบโตแตกต่างกันเกินไป

     1.การคลอดก่อนกำหนด พบมากในครรภ์แฝด การคลอดก่อนกำหนด หมาย ถึง มีการคลอก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดของการตั้งครรภ์แฝด ถ้าคลอดก่อน กำหนดมาก ๆ เช่น น้อยกว่า 34 สัปดาห์ลงไป ทารกอาจมีปัญหาเรื่องการหายใจไม่สะดวก และการรับประทานอาหารได้ ไม่ดี ยิ่งคลอดก่อนกำหนดมากเท่าไร โอกาสอันตรายต่อตัวเด็กก็มากขึ้น (แม้เทคโนโลยีในการช่วยเหลือเด็กคลอดก่อนกำหนดจะก้าวหน้าไปมากก็ตาม) อาจต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น และผลเสียในระยะยาว สาเหตุที่จะทำให้คลอดก่อนกำหนด คือ ปวดท้องคลอดก่อนกำหนด ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด เลือดออก จากรกเกาะต่ำ  และภาวะโลหิตสูงหรือครรภ์เป็นพิษ

     2. ภาวะครรภ์เป็นพิษจากการตั้งครรภ์แฝด คือ การมีความดันโลหิตสูง และมีไข่ขาวในปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ อาจจะเป็นอ่อน ๆ หรืออาการรุนแรงถ้า เป็นอ่อนๆ อาจต้องใช้วิธีรักษาแบบประคับประคองให้มีการตั้งครรภ์ยืดออกไปเรื่อย ๆ ถ้าเป็นแบบรุนแรง (ความดันโลหิตสูงมากกว่า 160/100 มม.ปรอท) อาจมีอันตรายต่อแม่ คือมีอาการชัก เส้นเลือดในสมองแตก และระบบ หัวใจล้มเหลว   แพทย์อาจต้องพิจารณาให้มีการคลอดโดยเร็ว แม้บางทียังไม่ถึงเวลาที่ควรคลอดก็ ตาม  การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษอาจทำให้เด็กในครรภ์เจริญเติบโตไม่ดี เพราะรกทำงาน ไม่ดีด้วย

     3. การเจริญเติบโตของทารกแฝด ทารกในครรภ์อาจเจริญช้าและตัวเล็กกว่าครรภ์เดี่ยว เพราะต้องแย่งอาหารกัน และมี ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นแพทย์จึงต้องทำอัลตราซาวนด์ตรวจเด็กบ่อยขึ้น บางที เด็กตัวโตไม่เท่ากัน  เพราะคนหนึ่งแย่งอาหารได้มากกว่าอีกคนหนึ่งจนอาจทำให้มีอันตรายกับเด็กที่ ตัวเล็ก และอันตรายอาจมากถึงชีวิต

     4. การแท้งและทารกเสียชีวิตในครรภ์ ของครรภ์แฝด ทารก 1 ใน 2 หรือ 3 คนของครรภ์แฝด อาจเสียชีวิตไปขณะการดำเนินของครรภ์ ถ้าเสียชีวิตขณะท้องอ่อน ก็ไม่มีปัญหาแต่ถ้าเสียชีวิตเมื่อครรภ์อายุมากแล้วก็อาจมีปัญหาทางจิตใจแม่และปัญหากับเด็กที่ยังมีชีวิตอยู่ได้(เกิดภาวะเป็นพิษ) สิ่งนี้แพทย์จะต้อง คอยดูเป็นพิเศษ

การดูแลเป็นพิเศษที่ควรจะได้รับขณะตั้งครรภ์แฝด

  •  การให้แม่นับเด็กดิ้นตามคำแนะนำ
  •  ตรวจภายในบ่อยขึ้นดูปากมดลูกว่าจะเกิดก่อนกำหนดหรือไม่
  •  ทำ อัลตร้าซาวด์ ดูทารก, รก และน้ำคร่ำบ่อยขึ้น
  •  ตรวจสภาพการเต้นของหัวใจเด็ก (NST) บ่อยขึ้น
  • การนัดตรวจบ่อย / ถี่กว่าเดิม

การคลอดของคุณแม่ครรภ์แฝด

วิธีการคลอดอาจคลอดทางช่องคลอดปกติ หรือคลอดโดยการผ่าตัด แล้วแต่สภาพของทารกในครรภ์ ข้อพิจารณาคือ

  • ท่าของทารกคนแรกที่คาดว่าจะคลอดก่อน
  • น้ำหนักของทารกแต่ละคน
  • สุขภาพของมารดา
  • สุขภาพของทารก

การเบ่งคลอดในครรภ์แฝด

อาจนานกว่าธรรมดา ทารกคนแรกกับคนที่สองอาจคลอดห่างกันนานหลายนาที

การดูแลทารกแฝดหลังคลอด

โดยปกติแม่จะเหนื่อยขึ้นเพราะต้องดูแลเด็ก 2 คนในเวลาเดียวกัน ค่าใช้จ่ายจะมากขึ้น อาจมีความเครียดกับแม่มากขึ้น แม่จึงควรพักผ่อนให้มาก ถ้ารู้สึกมีปัญหาคิดว่าจะไม่ไหวแล้วให้ปรึกษาแพทย์ดูเรื่องการให้นมแม่เลี้ยงเด็กแฝดก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ให้คำแนะ นำว่าควรทำและไม่ควรทำอะไรบ้าง

สรุปแล้วการ มีลูกแฝดก็เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น และน่ายินดีที่ตั้งครรภ์ครั้งเดียวได้ลูก 2-3 คน แต่ก็แฝงไปด้วยสิ่งแทรกซ้อนที่เราจะต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ  และควรได้รับคำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตนให้ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่เริ่มแรก

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. อาหารบำรุงครรภ์ตลอด40สัปดาห์

2. ยาบำรุงครรภ์ลดความพิการของทารก

3. คนท้องกินอะไรดีต่อลูก108ปัญหาคาใจตอบทุกคำถามที่นี่

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

ขอบคุณข้อมูล : นพ.ธีรศักดิ์  ธำรงธีระกุล