วิธีทดสอบเบาหวานขณะตั้งครรภ์

25 March 2015
114523 view

วิธีทดสอบเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์หรือภาษาแพทย์เรียกว่า Gestational diabetes mellitusตัวย่อ GDM เป็นภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่พบบ่อยในระหว่างตั้งครรภ์ ถ้าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายส่งผลต่อกระบวนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายสามารถปรับตัวต่อภาวะนี้ได้ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์บากลุ่มมีความเสี่ยงที่จะเกิดเบาหวานอยู่แล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดการเสียสมดุลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเกิดเป็นเบาหวานในระหว่างฝากครรภ์ และหลังคลอดบุตรฮอร์โมนกลับสู่ภาวะปกติ กระบวนการควบคุมน้ำตาลในเลือดจะกลับสู่ภาวะสมดุลดังเดิม

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่คุณแม่กลุ่มนี้ค่ะ

  1. ญาติสายตรงมีประวัติเป็นเบาหวาน
  2. ขณะตั้งครรภ์อายุ 30 ปีขึ้นไป
  3. มีประวัติคลอดบุตรที่มีความพิการแต่กำเนิดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  4. มีประวัติทารกเสียชีวิตในครรภ์ในครรภ์ครั้งก่อนๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ
  5. เคยมีเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  6. น้ำหนักตัวมาก
  7.  มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หรือก่อนตั้งครรภ์
  8. ตรวจพบภาวะน้ำคร่ำมากกว่าปกติ
  9. ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงตามที่กล่าวมาข้างต้น ควรได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อวินิจฉัยภาวะ เบาหวานเมื่อฝากครรภ์ โดยขั้นตอนการคัดกรองเบาหวานหลังจากที่คัดกรองเบื้องต้นแล้วพบว่ามีความเสี่ยง เเพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมดังนี้

การตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การตรวจในหญิงตั้งครรภ์กับคนปกติจะมีการตรวจที่แตกต่างกัน เนื่องจากคนท้องมีปัจจัยเรื่องฮอร์โมนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ลำดับการตรวจเป็นไปตามนี้ค่ะ

ขั้นตอนแรก คุณแม่ไม่ต้องงดน้ำงดอาหารใดๆ รับประทานอาหารตามปกติ แพทย์จะนัดคุณแม่เหมือนมาตรวจครรภ์ทั่วไป และส่งไปยังแผนกคัดกรอง เจ้าหน้าที่จะเตรียมน้ำตาล 50 กรัม ผสมน้ำปกติ 1 แก้ว ให้คุณแม่ตั้งครรภ์ดื่มจนหมดแล้วรอแล้วเจาะเลือด หลังจากดื่มน้ำตาล 1 ชั่วโมง

  • การแปลผลเลือด ค่าน้อยกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร = ว่าผิดปกติ แต่แนะนำคุณแม่ดูแลเรื่องอาหารต้อเนื่องควรลดอาหารหวานจัด และค่ามากกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร = ว่าผิดปกติ ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติม โดย 100 กรัม

ลำดับขั้นที่ 2 ในคุณแม่ตั้งครรภ์ผลเลือดเกิน 140 แพทย์จะนัดคุณแม่เหมือนมาฝากครรภ์ปกติ และกำหนดเวลาแน่นอน คุณแม่ต้องมาตามนัด เพราะ คุณหมอจะให้คุณแม่งดน้ำงด อาหารมาก่อนตรวจอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ส่วนมากแล้ว หมอจะนัดเวลา 8 โมง เพราะฉะนั้นคุณแม่ต้องงดน้ำงดอาหารหลังเที่ยงคืน มาด้วนะคะ  การตรวจคล้ายๆเดิมค่ะ แต่เพิ่มปริมารน้ำตาลเป้น 75 กรัม หรือ 100 กรัม ขึ้นอยู่กับ ผลการตวจครั้งที่แล้ว หรือดุลยพินิจย์ของแพทย์ หลังกินน้ำตาล 1  2  3 ชั่วโมง แล้วเจาะเลือดตรวจ  การเเปลผลตามนี้

  • การแปลผลเลือด หลังกินน้ำตาล 75 กรัม เจาะเลือดหลังกินน้ำตาล 1 ชั่วโมง ผลปกติ ต้องน้อยกว่า 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิต
    เจาะเลือดหลังกินน้ำตาล2 ชั่วโมง ผลปกติ ต้องน้อยกว่า  153 มิลลิกรัมต่อเดซิลิต
    เจาะเลือดหลังกินน้ำตาล 3 ชั่วโมง ผลปกติ ต้องน้อยกว่า  140  มิลลิกรัมต่อเดซิลิต
  • การแปลผลเลือด หลังกินน้ำตาล100 กรัม 
    เจาะเลือดหลังกินน้ำตาล 1 ชั่วโมง ผลปกติ ต้องน้อยกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิต
    เจาะเลือดหลังกินน้ำตาล 2 ชั่วโมง ผลปกติ ต้องน้อยกว่า 120  มิลลิกรัมต่อเดซิลิต

ข้อแนะนำในการตรวจ ขณะรอเจาะเลือดตรวจวัดระดับพลาสมากลูโคส หลังดื่มสารละลายกลูโคส 1 ชั่วโมง ควรนั่งหรือนอนพักผ่อนให้สบาย ไม่ควรเดินหรือทำกิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้เกิดความเครียดและใช้พลังงาน

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ แม่ท้องต้องระวัง!!

2. สุกใสในหญิงตั้งครรภ์ อันตรายกว่าที่คิด

3. ตกขาวขณะตั้งครรภ์อันตรายหรือไหมและรักษาอย่างไร

เรียบเรียงโดย : Mama Expert Editorial Team