ลูกไม่ยอมคลาน มีปัญหากล้ามเนื้อหรือหาพัฒนาการล่าช้าหรือไม่ สังเกตอย่างไร

11 February 2015
14200 view

ลูกไม่ยอมคลาน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลูกไม่ยอมคลาน

ลูกน้อยของคุณจะเริ่มมีทักษะเบื้องต้นของการคลานตั้งแต่ช่วงอายุ 4 – 6 เดือนแล้ว โดยลูกน้อยจะพยายามออกแรง ขยับแขน มือ ขา รวมทั้งศีรษะ เพื่อพลิกตัวไปสู่ท่าคว่ำ และพอคว่ำได้ก็จะพลิกกลับสู่ท่านอนหงายอีกอย่างไม่รู้เบื่อ และเมื่อพลิกคว่ำพลิกหงายจนเก่งแล้ว ลูกก็จะเริ่มขยับตัวไปข้างหน้าด้วยการใช้ปลายเท้าถีบยันตัวขึ้น พร้อมๆ กับใช้แขนทั้งแขนช่วยพยุง ซึ่งเป็นระยะแรกของการคลานที่เรียกกันว่า คืบ ต่อมาลูกน้อย เรียนรู้ที่จะใช้ฝ่ามือยันพื้นเพื่อยกลำตัวขึ้นก่อนที่จะคลาน แต่กว่าที่จะคลานได้นั้นไม่ง่ายเลยค่ะ เพราะเมื่อแรกเริ่มหัดพยุงตัวขึ้นนั้น แขนของลูกอาจยังไม่แข็งแรงพอ จึงทำให้ทรงตัวอยู่ได้ไม่นาน พอแขนอ่อนแรงจึงหน้าทิ่มลงสู่พื้นได้ง่ายๆ แต่พอลูกทรงตัวได้เก่งแล้ว เขาจะเริ่มขยับฝ่ามือและเข่าทั้งสองข้าง เพื่อคลานไปข้างหน้า คล่องขึ้นและเเข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ แต่มีเด็กบางกลุ่มที่ไม่ยอมคลาน จนคุณแม่เครียดไปตามๆกัน

สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมคลาน

  1.  ลูกน้อยมีน้ำหนักตัวมากส่งผลต่อความแข็งแรงของแขนขาความไม่คล่องตัว
  2.  ลูกน้อยขาดความมั่นใจที่จะคลาน ขาดแรงกระตุ้นที่ดี
  3. แม่อุ้มลูกนานไปหรือเปล่า การอุ้มบ่อยๆ ทำให้เด็กวัยคลานลืมพัฒนาการของเขาไปเลย วัยนี้คุณแม่ต้องปล่อยลูกให้อยู่กับพื้นบ่อยๆ จะได้มีโอกาสเรียนรู้การคืบคลานตามวัย

เด็กบางคนไม่คลานแต่เขาก็มีท่าเฉพาะของเขานะ แต่เขาก็สามารถพาตัวเองเคลื่อนที่ไปได้ โดยการนั่งเหยียดขา แล้วกระเถิบก้นไปข้างหน้าด้วยการเกร็งงอเข่า คุณแม่จึงไม่ควรกังวลมากเพราะเรื่องนี้ อยู่ที่ความถนัดมากกว่า ว่าลูกชอบที่จะพาตัวเองเคลื่อนไหวในท่าไห้ เพราะฉะนั้นแม่อย่าเพิ่งเครียด เก็บเวลาเครียดไว้กระตุ้นพัฒนาการลูกดีกว่า

คุณแม่กระตุ้นลูกไม่ยอมคลาน ให้ลูกอยากคลานได้ดังนี้

วิธีที่เหมาะที่สุดเพื่อให้ลูกคลาน จึงควรเป็นการกระตุ้นให้ลูกเกิดความรู้สึกอยากคลาน ได้แก่ ใช้ลูกลูกบอล หรือของเล่นสีสดๆ มาหลอกล่อ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูก เมื่อลูกเห็นก็จะพยายามเอื้อมมือคว้า คุณแม่ค่อยๆขยับของเล่นออกห่างเรื่อยๆ ลูกจะเคลื่อนตัวตามของเล่นไปเรื่อยๆเช่นกัน ฝึกบ่อยๆลูกก็จะคลานคล่องขึ้นเรื่อยๆค่ะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. เรื่องเล่าจากคุณหมอ…ตอนเลือกพี่เลี้ยงเด็กให้ปลอดภัย

2. วิธีปราบลูกวัย รื้อของ ตามเทคนิคของจิตแพทย์

3. เคล็ดลับเลี้ยงลูกให้สมองดี ในยุคเทคโนโลยีแต่ไม่ติดจอ

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team