ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ในเด็ก
ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ในเด็ก คืออะไร
ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ( G – 6 – PD Deficiency ) คือ การมีระดับของเอนไซม์ G6PD ต่ำกว่าคนปกติ เอนไซม์ ชนิดนี้พบได้ในเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้เม็กเลือแดงแตกง่าย โดยปกติเม็ดเลือดแดงของคนเราจะมีอายุ 120วัน แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้ หากได้รับยาบางอย่างหรือเป็นข้อห้ามรับประทานถั่วปากอ้า หรือแม้กระทั่งเจ็บป่วยมีไข้ ยา อาหาร หรือการติดเชื้อ จะเป็นตัวกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดง แตก และทำให้เกิดภาวะซีด เหนื่อย อ่อนเพลีย ตา ตัวเหลืองได้
ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ในเด็ก มีสาเหตุเกิดจาก
สาเหตุของการพร่องเอนไซม์ G6PD เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมของโครโมโซมเพศชนิดโครโมโซมเอ็กซ์ มีการถ่ายทอดยีน G6PD เป็นแบบ X-linked recessive จากมารดาโดยมีโอกาสที่ลูกชายจะเป็นโรคร้อยละ 50 ลูกสาวจะเป็นพาหะร้อยละ 50 ดังนั้นโรคนี้จึงพบในผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง
ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ในเด็ก มีอาการอย่างไร
อาการที่พบบ่อยที่สุด คือจะพบได้ในเด็กทารกอายุ 1-4 วัน ที่มีภาวะซีดจากการที่เม็ดเลือดแดงแตกอย่างฉับพลัน โดยในเด็กทารกจะพบว่ามีอาการดีซ่านที่ยาวนานผิดปกติ ส่วนในผู้ใหญ่นั้นจะพบว่า ปัสสาวะมีสีดำ ถ่ายปัสสาวะน้อยจนอาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันได้ นอกจากนี้ ยังส่งผลให้การควบคุมสมดุลของ Electrolytes (สารเกลือแร่ต่างๆในร่างกาย) ของร่างกายเสียไปด้วย โดยเฉพาะการเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง
ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ในเด็ก และการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี
- ในทารกแรกเกิดที่มีอาการตัวเหลือง หลังคลอดที่มีระดับสารเหลืองเกินปกติจะต้องได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ เพื่อ ให้แสงไฟทำปฏิกิริยากับสารเหลืองที่อยู่ในบริเวณผิวหนัง กลายเป็น สารชนิดที่สามารถขับออกจากร่างกายได้ โดยสารเหลืองดังกล่าวจะขับออกมาจากปัสสาวะ อุจจาระของ ทารกก็จะมีระดับสารเหลืองที่ลดลง จนอยู่ในระดับปลอดภัยสามารถกลับบ้านได้
- การดูแลทารกที่มีภาวะพร่องหรือขาดเอนไซม์ G6PD ดูแลทั่วไปเหมือนทารกปกติ สามารถดื่มนมแม่ได้แต่ มียาต้องห้ามและอาหารต้องห้ามเฉพาะโรคที่คุณแม่ควรเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งมักเป็นยาที่ไม่ได้ใช้กับทารกอยู่แล้ว
- คุณแม่ต้องติดตามอาการและอาการแสดงอย่างต่อเนื่อง เพราะลูกจะเหมือนคนปกติทั่วๆไป จะเเสดงอาการก็ต่อเมื่อ ได้รับยาหรืออาหารต้องห้ามก็จะเกิดภาวะซีด ตัวเหลือง ตาเหลืองฉับพลัน ปัสสาวะสีเข้มเหมือนสีโค๊ก หากซีดมาก จะมีอาการเหนื่อยจนต้องได้รับเลือด
- คุณแม่ที่มีลูกน้อยพร่องG6PD จะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญัในการรับประทานอาหารและหลีกเลี่ยงยาที่มีผลต่อร่างกาย เพราะฉะนั้นแล้ว หากมีโอกาสตองเข้ารับการรักษาหรือต้องได้รับยา จะต้องแจ้งแพทย์ เภสัชกร พยาบาล ให้ทราบทุกครั้ง ว่ามีภาวะผิดปกติของภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD
- คุณแม่พกบัติผู้ป่วยพร่องG6PD ทางโรงพยาบาลจะออกให้เมื่อตรวจพบ
ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ในเด็ก ควรหลีกเลี่ยงอาหารและยาประเภทใด
- แอสไพริน
- คลอแรมเฟนคอล
- คลอโรควีน
- ซิโปรฟลอกซาซิน
- ลีโวฟลอกวาซิน
- แดปโซนฃ
- เมฟโฟลลควิน
- เมนทอล
- เมทิลีน บลู
- แนพทาลีน
- ไนโตรฟูแลนดตอิน
- ไพรมาควิน
- ยากลุ่มซัลฟา
- ถั่วปากอ้า
ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD ไม่ได้ร้ายแรง สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ แต่คุณแม่อย่าลืมเรื่องเมนูอาหารที่ต้องหลีกเลี่ยงและการใช้ยาต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก แค่นี้ลูกน้อยก็ปลอดภัยหายห่วงแล้วค่ะ
บทความแนะนำเพิ่มเติมสำหรับคุณแม่
1. โรคอันตรายในเด็ก
2. โรคโลหิตจางในเด็ก
3. โรคร้ายในเด็กแต่ละช่วงวัย
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team