เลซิตินรักษาท่อน้ำนมอุดตัน ได้ผลดีเยี่ยม

10 September 2014
100064 view

เลซิติน

เลซิติน เป็นสารอิมัลซิฟายเอ้อร์ตัวนึง ที่ทําให้ไขมันรวมตัวกับน้ำได้เป็นเนื้อเดียวกัน ยกตัวอย่างคือน้ำสลัด น้ำส้มสายชูไม่สามารถรวมตัวกับน้ำมันพืชได้ มนุษย์เราจึงค้นพบว่า ไข่แดง เป็นอิมัลซิฟายเอ้อร์ตัวหนึ่ง ที่ใส่ลงไปปุ๊บ ทุกอย่างสามารถรวมตัวกันเป็นเนื้อเดียวที่เราเรียกว่า น้ำสลัด

เลซิติน รักษาเต้านมอักเสบ ท่อน้ำนมอุดตันได้อย่างไร 

ในน้ำนมแม่จะมีไขมันรวมอยู่ด้วย ไขมันนี้สามารถจะจับยึดพื้นผิวภายในกระเปราะน้ำนมและท่อน้ำนมได้หากไม่ได้ มีการนําออกในเวลาที่กําหนด ไขมันนี้จะจับยึดพื้นผิวภายในไว้แล้วจะพอกพูนขึ้นจนเป็นก้อนแข็งบริเวณเต้า นม เมื่อรับประทานเลซิตินเข้าไป เลซิตินจะไปทําหน้าที่ละลายไขมันในร่างกายเรา รวมถึงไขมันในน้ำนมด้วย ทําให้ไขมันที่พอกพูนอยู่นั้น ลดลงจนหมดไปในที่สุด  แต่ควรให้แพทย์ เป็นผู้สั่งยา เพื่อให้เหมาะกับอาการและร่างกายค่ะ

รู้จัก เลซิติน อย่างถ่องแท้ก่อนรับประทาน

เลซิติน  (Lecithin) เป็นสารธรรมชาติที่ประกอบด้วยฟอสฟอรัสกับไขมันบางชนิด และวิตามินในกลุ่มวิตามินบี  ไม่สำคัญว่าเลซิตินประกอบด้วยสารใดบ้างแต่สิ่งสำคัญคือเลซิตินเป็นหน่วยพื้น ฐานในทุกๆเซลล์ของสิ่งมีชีวิต  ที่สำคัญไปกว่านี้ก็คือเลซิตินนั้นช่วยจับไขมันและคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด  ด้วยคุณสมบัติอันน่ามหัศจรรย์ของเลซิติน คือ การที่เลซิตินสามารถละลายในได้ทั้งน้ำและไขมัน เลซิตินจึงละลายอยู่ในกระแสเลือดแล้วคอยจับเอาไขมัน หรือคอเลสเตอรอลที่ล่องลอยอิสระในกระแสเลือดและไขมันที่เกาะตามผนังหลอด เลือดไว้ ด้วยวิธีนี้ของเลซิตินจึงทำความสะอาดระบบหมุนเวียนโลหิตได้ ส่วนประกอบที่พบมากที่สุดในเลซิตินคือ สารฟอสฟาติดิลโคลีน (phosphatidylcholine) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารอันอุดมไปด้วยสารโคลีน  โคลีนจัดเป็นสารประกอบในกลุ่มของวิตามินบี ที่มีความสำคัญคือเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารสื่อประสาทในสมองของเราสารดัง กล่าวคือ อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine)

เลซิติน มีในอาหารประเภทใดบ้าง

แหล่งอาหารที่มีสารเลซิตินมีทั้งพืชและสัตว์ เช่น ซอสถั่วเหลือง ข้าวโพด เมล็ดฝ้าย เรพสีด กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา บริวเวอร์ยีสต์ รวมทั้งไข่แดง นม สมอง ตับ ไตและกล้ามเนื้อ  เลซิตินยังพบขายอยู่ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย เลซิตินที่ทำจากถั่วเหลืองนั้นนับเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย เลซิตินที่ทำจากถั่วเหลืองนั้นนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่พบได้ทั่วไปในท้องตลาดมาก ที่สุด

ส่วนประกอบของเลซิติน

ฟอสฟาติดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) เป็นสารสำคัญที่พบใน เลซิติน ซึ่งสารนี้จะให้วิตามินบีชนิดหนึ่ง เรียกว่า โคลีน สารโคลีนเป็นสารต้นตอในการสังเคราะห์สารสื่อรประสาท อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเลซิติน ได้แก่ ฟอสฟาติดิลอิโนซิทอล ฟอสฟาติดิลเอททาโนลามีน กรดไลโนเลอิก ฯลฯ

เลซิติน มีประโยชน์อย่างไร

1.เลซิติน ช่วยป้องกันและสลายโคเลสเตอรอล หรือไขมันที่อุดตันในหลอดเลือด จึงนิยมในกันมากในผู้ที่มีปัญหาไขมันอุดตันในหลอดเลือด
2. Phosphaticylcholine ซึ่งให้สารโคลีน เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประเภท อะเซททิลโคลีน จะช่วยให้ความจำและความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น
3. เลซิติน ช่วยให้การทำงานของตับมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. เลซิติน ลดการอุดตันของถุงน้ำดี (Gall Stones)
5. เลซิติน ให้สารอิโนซิทอล (Inositol) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยบำรุงเซลล์ประสาท ทำให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น
6. เลซิติน ป้องกัน และรักษาโรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s disease)แต่ ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา
7. เลซิติน รักษา ท่อน้ำนมอุดตัน

เลซิติน รับประทานอย่างไรให้ถูกต้อง

เลซิติน ขนาดรับประทานที่แนะนำเพื่อบำรุงสมองคือ 1,200 -2,400 มิลลิกรัม ถ้ารับประทานเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอสในกระแสเลือดต้องได้รับวันละ2,400 -3,600 มิลลิกรัม และตามรายงานนั้นจะต้องเพิ่มขนาดรับประทานเป็นวันละ 10 กรัมทีเดียวเพื่อเพิ่มปริมาณของเลซิตินในน้ำดีและรักษาอาการนิ่ว

เลซิติน มีผลข้างเคียงหรือไม่ฃ

เลซิติน มีผลข้างเคียงดังนี้

  1. มีปัญหาบ้างเกี่ยวกับความอึดอัดในช่องท้อง
  2. คลื่นไส้  อาเจียน

คุณแม่ที่ให้นมบุตรหากมีอาการ ท่อน้ำนมอุดตัน ควรปรึกษาเเพทย์ ผู้เชี่ยวชาญก่อนรับประทาน เลซิติน ทุกครั้ง ที่สำคัญการซื้อรับประทานเอง เสี่ยงต่อการซื้อของปลอม หรือไม่มี อย.ได้ค่ะ


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. เต้านมอักเสบ ลูกต้องงดเต้า ทำอย่างไรให้หายทันใจลูก

2. เต้านมคัด สาเหตุเต้านมคัด และวิธีรับมือกับอาการเต้านมคัด

3.วิธีนวดเต้าเพิ่มน้ำนม อีกหนึ่งเคล็ดลับเพื่อช่วยน้ำนมไหลดี

 เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team