เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออน ควรให้นมลูกเท่าไหร่ ถึงจะเพียงพอ

19 December 2023
288 view

เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออน

เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออน

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการให้นมลูกแต่ยังไม่ทราบว่า เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออน ถึงจะเพียงพอ และจะต้อง ดูดนม อย่างไรถึงจะถูกต้อง พร้อมกับได้รับนมในปริมาณที่เพียงพอวันนี้เรามีคำตอบมาฝาก ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่านมแม่นั้นมีความสำคัญอย่างมาก และมีผลดีต่อทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ขวบ จึงควรให้ทารกได้รับนมแม่อย่างเพียงพอ แต่ควรจะได้รับในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอนั้นไปดูกันเลยดีกว่า

คุณแม่ต้องรู้ เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออน

เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออน โดยส่วนใหญ่แล้วเด็กแรกเกิดจะกินนมประมาณ 1-3 ออนซ์ต่อการให้นมหนึ่งครั้ง โดยจะให้ดื่มทั้งหมด 8-12 ครั้งต่อวัน แต่อย่างไรก็ตามปริมาณที่แน่นอนของการดื่มนมในแต่ละวัน หรือในแต่ละมื้อของเด็กแต่ละคนนั้นอาจจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับน้ำหนักของทารก อายุ และความต้องการของแต่ละบุคคล แต่หากเป็นไปได้ก็ควรให้ลูกน้อยดื่มนมจนอิ่มจะดีกว่า เพื่อที่เขาจะได้ไม่งอแงนั่นเอง

ทำอย่างไรหากลูกดื่มนมน้อย

ก็ได้ทราบกันไปแล้วว่า เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออน หากลูกน้อยของคุณดื่มนมน้อยกว่าปกติ นั่นหมายความว่าอาจมีบางสิ่งที่เกิดความผิดปกติก็เป็นได้ จึงลองหาสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยดื่มนมน้อยลงก่อนว่าเกิดขึ้นจากอะไร เช่น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกน้อยสบายตัวและไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป เพราะจะทำให้เขาดื่มนมน้อยลงคุณแม่ลองเปลี่ยนท่าของลูกน้อยขณะป้อนนม หรือลองใช้ขวดนมหรือจุกนม ดูดนม แบบอื่นแทนแบบเก่า ที่สำคัญก็คือ ควรให้อาหารปริมาณน้อยลง แต่เปลี่ยนมาเป็นให้บ่อยขึ้นตลอดทั้งวัน ก็จะช่วยให้ลูกดื่มนมในปริมาณที่ปกติได้ ฉะนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าลูกน้อยดื่มนมน้อยลง ควรหาสาเหตุก่อนเลยเป็นอันดับแรก

ปริมาณน้ำนมที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย

เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออน เราจะแบ่งการคำนวณในการดื่มนมของทารกออกเป็นดังนี้

  • ทารกอายุแรกเกิด - 1 เดือน ใช้สูตรคำนวณ คือ น้ำหนักทารก (กก.) x 150 ซีซี หารด้วย 30 เช่น ทารกแรกเกิดน้ำหนัก 3 กก. 3×150 หาร 30 = 15 ออนซ์ หรือ ปริมาณ 450 ซีซี/วัน นั่นเอง หากแบ่งให้ทานเป็นมื้อ เช่น 6 มื้อ เท่ากับ มื้อละประมาณ 5 ออนซ์ แต่สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่เลี้ยงเด็กแรกเกิดด้วยนมแม่ คุณสามารถที่จะให้ลูกน้อย ดูดนม จากเต้าได้บ่อย ๆ จนกว่าเขาจะรู้สึกอิ่มเองได้เลย
  • ทารกอายุ 1-6 เดือน ใช้สูตรคำนวณ คือ น้ำหนักทารก (กก.) x 120 ซีซี หารด้วย 30 เช่น ลูกอายุ 4 เดือน น้ำหนัก 6 กก. 6×120 หาร 30 = 24 ออนซ์ ซึ่งเป็นปริมาณออนซ์ของนมที่ต้องใช้ใน 1 วัน หรือถ้าลูกกิน 8 มื้อ เท่ากับมื้อละ 3 ออนซ์ ในช่วงอายุ 5 - 6 เดือน เด็กจะกินน้อยลงอีก จึงเฉลี่ย เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออน ก็คือจะกิน 24 ออนซ์ บวกลบ 4 ออนซ์
  • ทารก 6-12 เดือน ใช้สูตรคำนวณ คือ น้ำหนักทารก (กก.) x 110 ซีซี หารด้วย 30 เช่น ลูกอายุ 6 เดือน น้ำหนัก 6.5 กก. คำนวณได้คือ 6.5x110 = 715 ÷ 30 เท่ากับ 23.83 หรือ 24 ออนซ์/วัน เหมือนเดิม แต่จะเพิ่มโภชนาการอื่น ๆ เข้าไป คือ ข้าว 1 มื้อ มื้อละ 5-8 ชต. สำหรับเด็ก 6 เดือน , ข้าว 2 มื้อ สำหรับเด็ก 9 เดือน, ข้าว 3 มื้อ สำหรับเด็ก 12 เดือน เป็นต้น
  • หลังจากครบ 1 ขวบขึ้นไป เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออน จะเริ่มทานข้าวเป็นอาหารหลัก ในส่วนของการดื่มนมจะลดบทบาทเป็นเพียงอาหารเสริม และเด็กช่วงนี้จะต้องการแคลเซียม วันละ 500 มก. หรือเทียบเท่ากับนมปริมาณ 500 ซีซี โดยสามารถกินนมแม่ได้จนกว่าฟันแท้จะขึ้น เพื่อจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนมากที่สุดนั่นเอง

ระวัง! ให้ลูกดื่มนมมากไปก็มีผลเสีย

เมื่อเราทราบกันแล้วว่า เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออน ก็ควรให้ลูกน้อยได้รับในปริมาณที่กำหนด สิ่งสำคัญ คือ ต้องแน่ใจว่าทารกไม่กินนมมากเกินไป เพราะการที่ทารกดื่มนมในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ และการให้นมมากเกินไปก็อาจทำให้รู้สึกไม่สบาย เนื่องจากมีปัญหาการย่อยอาหารตามมา รวมไปถึงการเกิดโรคอ้วนอีกด้วย เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรให้ลูกน้อยดื่มนมในปริมาณที่เยอะมากเกินไป แต่ควรให้ดื่มนมแค่พอดี หรือแค่พออิ่มแต่ให้ลูกน้อยดื่มบ่อย ๆ จะดีกว่าเพื่อการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และเพื่อการมีสุขภาพที่ดีในระยะยาวอีกด้วย

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการดื่มนมของลูกน้อย เพราะฉะนั้นเมื่อคุณแม่ได้ทราบคำตอบกันไปแล้วว่าควรได้รับนมในปริมาณเท่าไหร่ คุณแม่ก็ควรที่จะให้ลูกน้อยได้ดื่มนมอย่างเพียงพอ เพื่อสุขภาพที่ดีและเพื่อการได้รับโภชนาการที่ดีอีกด้วย และเมื่อลูกน้อยโตขึ้นก็ควรได้รับสารอาหารอื่น ๆ อย่างเพียงพอด้วยเช่นกัน เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์นั่นเอง สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่ไม่ให้ลูกน้อยดื่มนมจากเต้า ก็ควรที่จะเลือกนมที่มีคุณภาพ สารอาหารครบถ้วนให้ลูกน้อยดื่ม เพื่อการมีภูมิคุ้มกันของร่างกายที่แข็งเรงนั่นเอง

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1.3 วิธีช่วยลดปัญหาลูกวัยแบเบาะกินนมมากเกินจำเป็น(Over feeding) หิวบ่อย กินบ่อย ร้องกวน

2.คุณแม่แชร์ประสบการณ์ : ลูกกินนมเยอะเกินขนาดต้องนอนโรงพยาบาล

3.ลูกกินนมเท่าไหร่ดีกระเพาะของลูกน้อย มีความจุน้อย อย่าเร่งป้อนนมเกินขนาด!

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

  • No tag available