ทารกบิดตัวบ่อย
คุณแม่ทั้งหลายที่อาจเป็นคุณแม่มือใหม่ เพิ่งมีประสบการณ์ในการเลี้ยงเด็ก คุณแม่อาจจะต้องสังเกตลูก ๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะเด็กทารก 2 เดือน ที่มีอาการผิดปกติ เช่น ทารกบิดตัวบ่อย หรือร้องงอแงไม่หยุด เพราะนั่นอาจไม่ใช่อาการปกติทั่วไปก็ได้ ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่าการที่ทารกชอบบิดตัวเกิดจากอะไร อันตรายไหม จะได้รับมืออย่างถูกวิธีนั่นเอง
ทารกบิดตัวบ่อย มีสาเหตุมาจากอะไร
ทารกบิดตัวบ่อย เป็นอาการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เด็กไม่สบายตัว อาจเป็นไข้หรืออะไรก็ได้ แต่แน่นอนว่าอาการใดก็ตามที่เกิดขึ้นบ่อย อาจไม่ใช่เรื่องที่ดีอย่างแน่นอน ดังนั้นเรามาดูสาเหตุของการเกิดอาการนี้กับลูกของคุณดีกว่าว่าเกิดจากอะไร เพราะเด็กทารกไม่สามารถสื่อสารหรือตอบโต้ออกมาเป็นคำพูดได้ ดังนั้นคุณแม่ทั้งหลายจะต้องดูอาการที่เกิดขึ้นของลูกคุณให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายที่มากไปกว่านี้
1.เกิดจากการนอนไม่พอ
ไม่น่าเชื่อเลยว่า ทารกก็มีอาการนอนไม่พอเช่นกัน เพราะอาการนี้สังเกตได้จาก ทารกบิดตัวบ่อย นอกจากนี้ก็ยังร้องไห้ งอแงอีกด้วย นอนหลับไม่สนิท มีสิ่งรอบข้างมารบกวนลูกของคุณ หรืออาจเกิดจากการนอนไม่เป็นเวลาก็ได้ ทำให้ลูกของคุณมีอาการดังกล่าวมาให้พ่อกับแม่ได้เห็น
2.เกิดจากการไม่สบาย
แน่นอนว่าเด็กทารกไม่สามารถสื่อสารกับพ่อแม่ได้ โดยเฉพาะ ทารก 2 เดือน หรือเพิ่งคลอด ดังนั้นเด็ก ๆ ก็จะแสดงอาการที่เราเห็นได้ก็คือ ทารกบิดตัวบ่อย เนื่องจากอาการไม่สบาย เด็กจะรู้สึกไม่สบายตัว ทำให้สื่อสารออกมาด้วยรูปแบบที่พ่อแม่อาจสังเกตได้ หากดูแลลูกเป็นประจำ
3.เกิดจากการดื่มนมมากไป
การดื่มนมมากไปสำหรับเด็กทารกไม่ใช่เรื่องดีเลย เพราะจะทำให้เด็กท้องอืดได้ นอกจากคุณแม่จะสังเกตได้จากที่ ทารกบิดตัวบ่อย แล้วก็อาจมีอาการแหวะนมออกมาด้วย นี่คืออาการที่คุณแม่สังเกตได้ง่ายมากเลย ดังนั้นคุณแม่อาจจะต้องให้นมในปริมาณที่ลดลง เพื่อให้เด็กไม่ท้องอืดและแหวะนมออกมา
4.อาการบิดตัวเรียกเนื้อ
หากคุณแม่เห็นอาการของ ทารกบิดตัวบ่อย นี่คืออาการของการเรียกเนื้อหรือเป็นอาการของการสร้างกล้ามเนื้อสำหรับเด็กนั่นเอง เด็กทารกจะมีพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อเมื่อร่างกายเติบโตขึ้น ไม่ใช่อาการรุนแรงหรืออันตรายแต่อย่างใด เพราะอาการนี้จะไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย คุณแม่สบายใจได้เลย
5.อาการไม่สบาย
การไม่สบายในเด็กทารก คุณแม่สังเกตได้เลย เพราะว่าอย่างแรกเลย เด็กจะตัวร้อน จะร้องไห้และมีอาการ ที่เห็นได้ชัดมาก ๆ เลย ดังนั้นคุณแม่อาจจะต้องเช็ดตัวหรือหากไข้ไม่ลดลง การไปพบแพทย์ควรทำมากที่สุดในตอนนั้น
ทารกบิดตัวร่วมกับอาการแบบไหน ไม่ปกติ
ทารกบิดตัวบ่อย อาจไม่เกิดอันตราย หากไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย แล้วอาการแบบไหนบ้างที่ทำให้คุณจะต้องดูแล ทารก 2 เดือน ให้อยู่ในสายตามากที่สุด นั่นก็คือ อาการ ทารกแหวะออกมา หรือกำมือแน่น ร้องไห้หนักและบ่อย นอกจากนี้ลูกของคุณอาจเกิดอาการตัวร้อน ไม่สบายตามมาก็ได้ อาการเหล่านี้ถือว่าจะต้องได้รับความดูแลจากคุณแม่ คุณพ่ออย่างดีเลย หากเป็นอาการที่หนักขึ้น ควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
อาการอื่น ๆ ที่คุณแม่อาจพบได้บ่อยในทารก
นอกจาก ทารกบิดตัวบ่อย แบบที่ไม่มีอาการอื่น ๆ แทรกเข้ามาแล้ว คุณพ่อคุณแม่สบายใจได้เลย แต่สำหรับการเกิดอาการอื่น ๆ ก็อาจจะมีตามมาด้วยก็ได้ เพราะการเลี้ยงเด็กทารก คนเป็นพ่อกับแม่อาจจะต้องดูแลเป็นพิเศษและเฝ้าระวังว่าลูกจะผิดปกติหรือไม่ เพราะเราไม่สามารถสื่อสารกับลูกเป็นคำพูดได้ การสังเกตอาการคือทางออกที่ดีที่สุด แล้วลูกของคุณจะมีอาการอื่นแบบไหนบ้างที่พบได้บ่อย ทั้งที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย เรามาติดตามกันดีกว่า
- ร้องไห้เป็นช่วงเวลา อาจเกิดขึ้นจากอาการหิวนม แต่คุณแม่อาจจะต้องดูด้วยว่า ลูกร้องแล้วตัวร้อนหรือแหวะอ้วกออกมาหรือไม่ หากไม่ ให้คุณแม่สันนิษฐานได้เลยว่า ลูกอาจหิวนมหรือไม่สบายตัวก็ได้
- อาการเกร็ง ร้องไห้หนัก ไม่หยุดร้อง เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นของโรค โคลิก โรคที่เกิดในเด็กทารกและเด็กแรกเกิด อาการงอขา งอแขน กำมือแน่น
- อาการท้องเสีย ถ่าย ไม่สบายตัว อาการนี้คุณแม่จะต้องพาลูกไปหาหมอโดยด่วน เพราะเด็กอาจไม่สบายและชักได้
- อาการแหวะนม หรือมีอ้วกออกมา เนื่องจากเด็กดื่มนมมากไป อาจจะต้องลดปริมาณของการดื่มนมลงบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องอืดเกิดขึ้น
อาการของ ทารก 2 เดือน หรือมากกว่านั้นที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาการแบบไหนก็ตาม เช่น ทารกบิดตัวบ่อย คนเป็นพ่อแม่จะต้องดูแลให้ดี เพราะเด็กในวัยนี้ไม่สามารถบอกความต้องการหรือความผิดปกติได้ แต่หากลูกของคุณแค่บิดตัวแบบที่ไม่มีอาการอื่น ๆ แทรกเข้ามา คุณแม่คุณพ่อสบายใจได้เลย ว่าเป็นอาการทั่วไปของเด็กทารก ไม่อันตราย แค่เลี้ยงลูกด้วยความรัก โอบกอดเด็กไว้ตลอด เท่านี้อาการก็จะดีขึ้น เด็กทารกก็จะเติบโตมาอย่างสดใสและแข็งแรง
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1.ความหมายของตัวย่อแต่ละท่าของทารกในครรภ์
2.ห่อตัวทารกอย่างถูกวิธี ให้ลูกน้อยสบายตัว ไม่เสี่ยงโรคไหลตาย
3.วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด ช่วยให้ไข้ลดเร็ว ทำอย่างไรคุณแม่ต้องรู้
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team