ลูกดิ้นแบบไหนอันตราย เช็กด่วน! สังเกตลูกดิ้นเป็น ป้องกันความเสี่ยงได้

30 September 2023
303 view

ลูกดิ้นแบบไหนอันตราย

.

.

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ภายในร่างกายของคุณแม่เกิดขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่ด้วย และหนึ่งในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้สังเกตลูกน้อยในครรภ์ได้ก็คืออาการดิ้น หรือ อาการแตะของลูกน้อยในครรภ์ โดยส่วนของการดิ้นของลูกน้อยนี้ก็เป็นหนึ่งในพัฒนาการที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเฝ้าสังเกตได้ รวมถึงสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยในครรภ์ได้อีกด้วย การนับลูกดิ้นจึงเป็นหนึ่งกิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่พึงทำ ในบทความนี้เราจึงขอพาคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านไปพบกับการสังเกตลูกดิ้น รวมถึงอาการลูกดิ้นแบบไหนอันตรายคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามและควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์โดยด่วน

ลูกดิ้นแบบไหนอันตราย คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

ส่วนแรกเลยเราก็ขอพามาพบกับส่วนที่สำคัญที่สุดของบทความกับการสังเกตอาการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์ว่าการดิ้นในรูปแบบใดจัดเป็นอาการลูกดิ้นแบบไหนอันตราย ซึ่งเราได้รวบรวมมาไว้ให้คุณพ่อคุณแม่ได้สังเกตกัน ดังนี้

  • อาการลูกดิ้นแบบไหนอันตรายกับอาการแรกที่สามารถสังเกตได้โดยง่าย ซึ่งก็คือ อาการลูกดิ้นที่ผิดปกติไปจากจังหวะเดิม ๆ ที่ลูกเคยดิ้น ไม่ว่าจะเป็นการที่ลูกน้อยในครรภ์ดิ้นบ่อยและรุนแรง แต่อยู่ ๆ ลูกน้อยในครรภ์ก็หยุดดิ้นไปเสียเฉย ๆ ซึ่งอาการดังกล่าวนั้นค่อนข้างอันตราย หรือ จะเป็นกรณีที่ลูกเคยดิ้นแบบเบา ๆ แต่อยู่ ๆ ลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่เกิดก็ดิ้นรุนแรงมากเป็นพิเศษ ซึ่งส่วนนี้คุณแม่ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
  • อาการลูกดิ้นแบบไหนอันตรายกับอาการที่สองคือการที่ลูกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งต่อชั่วโมง ซึ่งถือเป็นการดิ้นที่น้อยจนเกินไปที่อาจเกิดอันตรายกับลูกน้อยในครรภ์ได้
  • อาการลูกดิ้นแบบไหนอันตรายกับอาการที่สามคือการที่ลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งในช่วงเวลา 10 - 12 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นการดิ้นที่น้อยจนเกินไปที่อาจเกิดอันตรายกับลูกน้อยในครรภ์ได้

วิธีสังเกตการดิ้นของลูก คุณแม่ต้องดูให้เป็น

ถัดมาเราก็มาพบกับวิธีการสังเกตการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์และคุณพ่อควรดูให้เป็น ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่และคุณพ่อทราบได้ว่าอาการลูกดิ้นแบบไหนอันตรายโดยเรามีวิธีการสังเกตการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์ดังนี้คุณแม่ควรนับการดิ้นของลูกน้อยด้วยการเริ่มนับในช่วงเวลา 09.00 น. จากนั้นให้คุณแม่สังเกตการดิ้นของลูกน้อยแล้วทำการนับภายในระยะเวลา 10 – 12 ชั่วโมง หากลูกน้อยในครรภ์ดิ้นครบ 10 ครั้งถือว่าเป็นเรื่องปกติ ในส่วนนี้คุณแม่ก็ควรทำการจดบันทึกไว้ในตารางลงสมุดเสมอ แต่หากคุณแม่นับการดิ้นของลูกน้อยแล้วพบว่าการดิ้นของลูกน้อยมีจำนวนครั้งน้อยกว่า 10 ครั้งภายในระยะเวลา 10 – 12 ชั่วโมงจะถือเป็นอาการที่อันตราย คุณพ่อคุณแม่ควรไปพบหรือปรึกษาแพทย์โดยด่วน

การนับลูกดิ้น ทำได้ตั้งแต่กี่เดือน

คงเป็นเรื่องยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ว่าลูกน้อยในครรภ์จะเริ่มดิ้นเมื่ออายุครรภ์เท่าใด หรือแม้แต่คุณพ่อคุณแม่ที่เคยผ่านการตั้งครรภ์มาแล้วก็ยังเกิดความสับสนในการการนับลูกดิ้นได้ ส่วนนี้เราก็ขอเฉลยกันในบทความช่วงนี้ว่าส่วนของการขยับตัวของลูกน้อย การพลิกตัว การแตะ หรือการดิ้นที่คุณแม่จะสามารถรู้สึกได้ด้วยตัวของคุณแม่หรือคุณพ่อเมื่อแนบหน้ากับท้องของคุณแม่ก็สามารถสังเกตอาการดิ้นนี้ของลูกได้เช่นกัน โดยสามารถสังเกตอาการการพลิกตัว การแตะ หรือการดิ้นได้ตั้งแต่คุณแม่มีอายุครรภ์ 4 – 6 เดือน หรือ ช่วงอายุครรภ์ 16 – 25 สัปดาห์ขึ้นไป

ข้อดีของการนับลูกดิ้นทุกวัน

ถัดมาในหัวข้อสุดท้ายเราก็ขอพาคุณพ่อคุณแม่ไปพบกับข้อดีในการนับการดิ้นของลูกน้อย ซึ่งมีข้อดีดังนี้

  • การนับการดิ้นของลูกน้อยในทุกวันจะช่วยให้คุณสามารถติดตามพัฒนาการการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่ได้
  • การนับการดิ้นของลูกน้อยในทุกวันจะช่วยสร้างความผูกพันธ์ระหว่างคุณแม่กับลูกน้อยให้เพิ่มมากขึ้น เพราะในทุก ๆ การนับการดิ้นของลูกก็จะเป็นตัวช่วยให้ลูกน้อยสัมผัสได้ถึงความรักจากคุณแม่เช่นกัน
  • การนับการดิ้นของลูกน้อยในทุกวันจะช่วยสร้างความผูกพันธ์ระหว่างคุณแม่กับคุณพ่อให้เพิ่มมากขึ้น เพราะในทุก ๆ การนับการดิ้นของลูกก็จะเป็นตัวช่วยสร้างความสัมพันธ์และเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำร่วมกันในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้
  • การนับการดิ้นของลูกน้อยในทุกวันจะช่วยให้คุณแม่สังเกตได้ถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยในครรภ์ที่จะช่วยให้คุณแม่สามารถป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยในครรภ์ได้

จากบทความข้างต้นล้วนเป็นข้อมูลดี ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ในการสังเกตการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่ได้ นอกจากนี้ในบทความก็ยังมีวิธีการนับลูกดิ้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ด้วย รวมถึงเรายังได้รวบรวมส่วนของอาการลูกดิ้นแบบไหนอันตรายคุณไม่ควรมองข้ามและควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน ซึ่งจะเป็นหนึ่งสัญญาณที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เฝ้าระวังลูกน้อยในครรภ์ให้มีการเจริญเติบโตอย่างสมวัยได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่  

1. “ลูกดิ้น”แต่ละที...มีอะไรซ่อนอยู่

2. ลูกดิ้นเมื่อไหร่ อาการลูกดิ้นเป็นอย่างไร แม่มือใหม่ต้องรู้

3. คู่มือนับลูกดิ้นสำหรับแม่มือใหม่ ลูกต้องดิ้นกี่ครั้งใน 1 วัน วิธีนับลูกดิ้นที่ถูกต้อง

เรียบเรียงโดย :  Mamaexpert Editorial Team