หน้ามืด
.
.
อาการหน้ามืด เวลาลุกขึ้นยืนเร็ว ๆ เป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์ แต่หลาย ๆ ท่านก็ประสบพบเจอกันมาบ้างแล้ว บางท่านก็พบว่าคนใกล้ชิด หรือ คนรอบตัวมีอาการดังกล่าว สำหรับบางท่านก็พบอาการดังกล่าวนี้ด้วยตัวเองเลย ยิ่งบางท่านที่พบอาการหน้ามืดบ่อย ๆ ก็ยิ่งมีความกังวลทั้งส่วนของสุขภาพกายของตนลามไปถึงสุขภาพใจได้ ในบทความนี้เราจึงขอพาทุกท่านไปพบว่าอาการหน้ามืด เวลาลุกขึ้นยืนเร็ว ๆ เกิดจากอะไรได้บ้างและเป็นอันตรายหรือไม่
สาเหตุของอาการหน้ามืด เวลาลุกขึ้นยืนเร็ว ๆ
เรามาพบกับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหน้ามืด เวลาลุกขึ้นยืนเร็วๆ ซึ่งอาการหน้ามืด เวลาลุกขึ้นยืนเร็ว ๆ ก็อาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงสาเหตุเดียวเท่านั้น แต่สำหรับบางท่านอาการดังกล่าวนี้ก็อาจเกิดมาจากหลายสาเหตุร่วมกัน เราไปพบกับเหล่าสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหน้ามืด เวลาลุกขึ้นยืนเร็ว ๆ โดยมีสาเหตุดังนี้
1.ภาวะที่ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรง ทำให้การหมุนเวียนเลือดภายในร่างกายเกิดการติดขัด แล้วเกิดการหน้ามืดขึ้นได้ โดยส่วนนี้ก็เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุทั้งการขาดน้ำจากภาวะอาหารเป็นพิษรุนแรงที่มีอาการอาเจียนหรืออาการท้องเสียร่วมด้วย หรือ เกิดจากภาวะการสูญเสียน้ำจากการออกกำลังกายอย่างหนักแล้วไม่มีน้ำเข้าไปทดแทนน้ำที่สูญเสียไปได้อย่างทันเวลา หรือ เกิดจากภาวะที่ร่างกายอยู่ท่ามกลางแสงแดดจัดเป็นเวลานาน ๆ
2.เกิดจากโรคที่เป็นอยู่หรือการรับประทานยาบางชนิด ส่วนนี้เป็นอาการหน้ามืดที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ยาก เนื่องจากในผู้ที่เป็นโรคนั้น ๆ ยังคงต้องรักษาโรคและใช้ยาที่อาจทำให้เกิดอาการดังกล่าวอยู่ โดยโรคที่มักทำให้เกิดการหน้ามืดก็คือโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ อาทิเช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว หรือภาวะที่หัวใจเต้นช้าหรือเร็วกว่าปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีโรคในกลุ่มระบบประสาท โรคในกลุ่มที่เกี่ยวกับความดัน ร่วมเป็นสาเหตุได้ด้วย ในส่วนของการใช้ยาก็เป็นยาในกลุ่มเกี่ยวกับการขับปัสสาวะหรือยาลดความดันโลหิต เป็นต้น ส่วนของสาเหตุข้อนี้อาจนำไปสู่ภาวะของโรคอื่น ๆ ที่รุนแรงได้
3.เกิดจากการเปลี่ยนอิริยาบทที่รวดเร็วเกินไป ทั้งการนั่ง นอน เดิน หรือ ยืน ที่อาจทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้
4.การรับประทานอาหารที่รวดเร็วเกินไป หรือ การทำกิจกรรมอื่น ๆ ทันทีหลังการรับประทานอาหารจะทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้ เนื่องจากจะมีเลือดจำนวนมากไปเลี้ยงลำไส้และกระเพาะเพื่อทำการย่อยอาหาร ซึ่งทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณอื่น ๆ ได้น้อยลง แล้วเกิดอาการดังกล่าวขึ้นได้
5.การพักฟื้นจากอาการป่วย หรือ การพักฟื้นจากอาการติดเตียงเป็นเวลานาน ในส่วนนี้ก็จะทำให้การไหลเวียนเลือดในร่างกายไม่ปกติมาก่อน เมื่อต้องเดินเหินหรือทำกิจกรรมตามปกติก็ทำให้ร่างกายปรับตัวได้ช้า หรือ ปรับตัวไม่ทันแล้วทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นได้นั่นเอง
6.การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ Alcohol เป็นประจำ หรือ การสูบบุหรี่เป็นประจำ ซึ่งล้วนมีผลต่อระบบหมุนเวียนเลือดภายในร่างกาย และทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นได้ นอกจากนี้สาเหตุในข้อนี้ก็ทำให้เกิดอันตรายหรือโรคร้ายแรงตามมาได้ด้วย
ควรทำอย่างไร เมื่อเกิดอาการหน้ามืด
เมื่อเราทราบสาเหตุของอาการหน้ามืด เวลาลุกขึ้นยืนเร็วๆ ถัดมาเราก็มาพบกับการปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการดังกล่าวขึ้นทั้งกับตนเอง หรือ คนใกล้ตัว ดังนี้
หากเกิดอาการกับตน
ต้องตั้งสติ พยายามคว้าคน และ พยายามล้มตัวป้องกันการกระแทกของร่างกาย รวมถึงต้องอยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก แต่หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที
หากเกิดอาการกับผู้ที่อยู่ใกล้ตัว
1.ไม่มุง และพยายามจัดให้อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเท
2.เมื่อเกิดอาการให้พยายามคลายเสื้อผ้า เข็มขัดให้หลวม และนั่งหรือนอนในท่าที่สบายที่สุด
3.ค่อย ๆ จิบน้ำหวาน หรือ อมลูกอม
4.ค่อย ๆ สูดยาดมเพื่อให้มีอากาศไหลเวียนในร่างกายเพิ่มมากขึ้น
วิธีการรักษาอาการหน้ามืดบ่อย
หากคุณหรือคนรอบตัวเกิดอาการเหล่านี้ก็อาจทำให้เกิดความไม่สบายกายและใจได้ และผู้ที่มีอาการหน้ามืดบ่อย ๆ ก็มีวิธีการรักษา ดังนี้
1.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
2.รับประทานอาหารอย่างครบถ้วน
3.หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งจะช่วยให้เราทราบสภาวะของร่างกายตนเอง รวมถึงช่วยให้เราเฝ้าระวังสุขภาพของตนเองได้
4.ไม่ออกกำลังกายหักโหมอย่างหนักและต่อเนื่องเป็นเวลานาน
5.จัดท่านั่ง นอน เดิน ยืน ในอิริยาบทที่เหมาะสม ไม่เปลี่ยนท่าไวเกินไปซึ่งข้อนี้จะสามารถช่วยรักษาอาการหน้ามืดบ่อย ๆ ได้เป็นอย่างดี
6.หากมีอาการรุนแรงหรือเกิดขึ้นบ่อย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารักการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที
จากบทความข้างต้นจะพบได้ว่าอาการหน้ามืด เวลาลุกขึ้นยืนเร็ว ๆ เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งบางสาเหตุก็บ่งชี้ไปสู่อาการของโรคที่รุนแรงได้ การรักษาที่ทันท่วงที่จึงนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ร่วมถึงการป้องกันก็นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยทุเลาอาการให้เบาลงได้ ดังนั้นทุกท่านควรหมั่นสังเกตร่างกายหรืออาการทางกายของตนอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงควรตรวจสุขภาพประจำในทุกปีด้วย
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team