วิธีดูแลตัวเองช่วงที่เริ่มตั้งครรภ์
.
.
เมื่อรู้ตัวเองว่ากำลังตั้งครรภ์สิ่งแรกที่คุณแม่มือใหม่ ทุกคนจะต้องคำนึงถึงนั่นก็คือการดูแลตัวเองให้ดี เพื่อให้มีสุขภาพร่างกาย และจิตใจที่ดี เพื่อให้ส่งผลดีต่อตัวเองและทารกในครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มตั้งครรภ์อ่อน ๆ ถือเป็นช่วงที่จะต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ เพราะมีโอกาสที่จะแท้งได้ง่าย หรือหากไม่ดูแลตัวเองให้ดีอาจส่งผลในระยะยาวได้ คือ ลูกอาจจะไม่แข็งแรง สมบูรณ์ก็ได้ วันนี้เราเลยมี วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อน ๆ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์มาฝาก จะมีวิธีไหนบ้างเราไปดูกันเลย
5 วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อน ๆ
คุณแม่มือใหม่หลายคนที่เพิ่งตั้งครรภ์แรก อาจจะยังไม่รู้ว่าจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร เพื่อให้มีร่างกายที่แข็งแรง และไม่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายหรือภาวะความเสี่ยงต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งคุณแม่สามารถดูตัวเองได้ง่าย ๆ ด้วย 5 วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อน ๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. ฝากครรภ์ทันที
เมื่อคุณแม่ทราบว่าเริ่มมีการตั้งครรภ์ สิ่งแรกที่จะต้องทำคือการฝากครรภ์ทันที เพื่อจะได้ตรวจร่างกายเบื้องต้น ว่าร่างกายมีความพร้อมและสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน เพราะร่างกายของคุณแม่มีผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น หากมีร่างกายไม่แข็งแรง หรือมีโรคประจำตัวอาจจะผลเสียต่อทารกได้ ทั้งนี้การฝากครรภ์ยังเป็น วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อน ๆ เพื่อจะได้วางแผนการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นตามมาอีกด้วย
2. ทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ และควรที่จะได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ เพื่อให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักที่พอี และเพื่อการเจริญเติบโตของทารกที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและสมอง โดยในช่วง 1-3 เดือนแรกควรได้รับพลังงาน 2,050 กิโลแคลอรี่ต่อวัน เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่ทารกกำลังเติบโตเร็วมาก
3. ใช้ชีวิตให้ถูกสุขลักษณะ
วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อน ๆ เรื่องของความสะอาดถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ๆ เพราะมีผลต่อสุขภาพของคุณแม่เองและยังมีผลต่อทารกในครรภ์อีกด้วย ดังนี้ คุณแม่ควรที่จะดูแลร่างกายให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา ดูแลช่องปากอย่าถูกต้องเพราะช่วงท้องอ่อน ๆ เป็นช่วงที่คุณแม่มักจะมีอาการแพ้ท้อง ซึ่งหากช่องปากไม่สะอาดอาจทำให้คุณแม่รู้สึกพะอืดพะอมได้ ทั้งนี้บริเวณบ้านโดยรอบก็ควรสะอาดด้วยเช่นกัน จะได้ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคนั่นเอง
4. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเป็น วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อน ๆ อีกหนึ่งวิธีที่คุณแม่สามารถทำได้ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยผ่อนคลายความเครียด โดยการออกกำลังกายนั้นอาจจะเลือกการออกกำลังกายด้วยวิธีง่าย ๆ เบา ๆ เช่น การเล่นโยคะ การเดิน เป็นต้น ทั้งนี้การออกกำลังกายยังทำให้คุณแม่คลอดได้ง่ายอีกด้วย
5. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี
คุณแม่โดยส่วนใหญ่มักจะมีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นและหลายคนก็อาจจะไม่กลับมาน้ำหนักเท่าเดิมก็ได้ เพราะฉะนั้น วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อน ๆ เพื่อไม่ให้มีน้ำหนักหลังคลอดที่เยอะขึ้นคุณแม่ควรออกกำลังกายตั้งแต่ท้องอ่อน ๆ ได้เลย แต่ก็ควรระมัดระวังให้มากที่สุดอีกด้วย เพื่อจะได้ไม่เกิดความเสี่ยงนั่นเอง ทั้งนี้ก็ควรควบคุมอาหารให้ดี หลีกเลี่ยงการทานอาหารขยะ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เป็นต้น
อาการผิดปกติที่ต้องระวังในช่วง ไตรมาสแรก
อีกหนึ่ง วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อน ๆ คือการสังเกตความผิดปกติของร่างกายในช่วงไตรมาสแรก โดยอาการผิดปกติของร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกมีอาการดังต่อไปนี้
- เมื่อไหร่ก็ตามที่สังเกตเห็นว่าตัวเองมีอาการแพ้ท้องมากจนเกินไป เช่น อาเจียนบ่อย ทานอาหารไม่ได้ อ่อนเพลียไม่มีแรงที่จะทำอะไร ถือเป็นอาการที่ผิดปกติมาก ๆ เพราะฉะนั้นจึงควรรีบพบแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยไว้นาน ๆ หรือไม่ควรปล่อยให้หายไปเอง
- มีเลือดออกมาทางช่องคลอด การมีเลือดออกจากช่องคลอดไม่ว่าจะปวดท้องหรือไม่ปวดท้องก็ตาม อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณแม่กำลังแท้ง หรือที่เรียกว่า ภาวะแท้งคุกคามครรภ์ไข่ลม เพราะฉะนั้นจึงควรได้รับการตรวจจากแพทย์ทันที เพื่อจะได้สามารถวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากอะไร และมีความเสี่ยงอื่น ๆ ตามมาหรือไม่
- มีอาการปวดที่ท้องน้อยบ่อย ๆ ในระยะการตั้งครรภ์อ่อน ก็อาจเป็น ภาวะแท้งคุกคามหรือมีการฝังตัวอ่อนผิดที่ หรือที่เรียกว่าตั้งครรภ์นอกมดลูกก็ได้ เพราะฉะนั้นหากมีอาการดังกล่าวก็ควรรีบพบแพทย์ทันทีด้วยเช่นกัน
- ทางเดินปัสสาวะอักเสบ หากมีอาการเช่น ปัสสาวะรู้สึกเจ็บ ปัสสาวะบ่อยเหมือนไม่สุด หรือปัสสาวะเป็นเลือดอาการเหล่านี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ระหว่างการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก หากใครที่มีอาการนี้บ่อย ๆ อย่างต่อเนื่องควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องและจะได้ไม่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์อีกด้วย
ก็ได้รู้กันไปแล้วกับวิธีดูแลตัวเองให้ดีขณะที่กำลังตั้งครรภ์อ่อน ๆ เพราะฉะนั้นคุณแม่ท่านไหนที่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ก็อย่าลืมที่จะดูแลสุขภาพร่างกายและของตัวเองให้ดีอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ไปตลอดจนคลอด และเพื่อจะได้สามารถฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงได้เร็ว ๆ อีกด้วย
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. อาหารบำรุงมดลูก เพิ่มความแข็งแรง ป้องกันภาวะเสี่ยงแท้ง
2. ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน จำเป็นแค่ไหน มาดูเหตุผลที่ควรตรวจ
3. ฝากครรภ์พิเศษ คืออะไร ใครบ้างที่เหมาะกับการฝากครรภ์ประเภทนี้
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team