ความดันโลหิตสูงในคุณแม่ตั้งครรภ์
.
.
ในระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์นอกจากโรคเบาหวานที่ต้องระวังแล้ว ความดันโลหิตสูง ก็เป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องระวังให้มากๆ เพราะความดันเลือดสูงคือภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยมากในคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นสาเหตุรองลงมาจากโรคเบาหวานที่ทำให้คุณแม่เสียชีวิตจากภาวะครรภเป็นพิษ เพราะฉะนั้นคุณแม่จึงมองข้ามไม่ได้เลย เพราะหากเกิดขึ้นแล้วอาจจะส่งผลกระทบถึงลูกในครรภ์และทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว
สาเหตุความดันโลหิตสูงในคนท้อง
โดยปกติแล้วคนเราจะมีความดันอยู่ที่ 120/80 – 139/89 มิลลิเมตปรอท แต่ถ้าใครมีความดันเลือดสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทถือว่าเป็นโรคความดันเลือดสูง หากภาวะความดันเลือดสูงเกิดขึ้นกับคนท้องจะมีความอันตรายมากกว่าคนปกติเพราะจะทำให้ครรภ์เป็นพิษเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ ความดันโลหิตสูง ในคนท้องมีผลมาจากการรัดตัวของหลอดเลือดแดง จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดความดันเลือดสูงตามมา และถ้าหากรุนแรงอาจส่งผลทำลายเนื้อเยื่อที่สำคัญรวมถึง ตับ ไต และสมองได้ นอกจากนี้ยังทำให้เลือดที่ผ่านไปเลี้ยงรกลดลง ส่งผลทำให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนและอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เกิดภาวะ ความดันโลหิตสูง นั่นก็เพราะว่า คุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุที่มาก มีโรคอ้วน และมีโรคประจำตัวอย่างเช่น โรคไต โรคเบาหวานเป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะความดันเลือดสูง
โรคนี้อันตรายมากแค่ไหน
ภาวะ ความดันโลหิตสูง ในคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคที่มีความอันตรายมากเพราะเป็นสาเหตุทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศเลย เพราะภาวะความดันขึ้นสูง นี้สามารถทำให้ครรภ์เป็นพิษและทำให้เสียชีวิตระหว่างตั้งครรภ์ได้ เพราะฉะนั้นหากพบว่ากำลังตั้งครรภ์คุณแม่ควรรีบไปฝากครรภ์ตั้งแต่ยังเนิ่นๆ เพื่อให้อยู่ในความดูแลของแพทย์ ทานยาตามที่แพทย์สั่ง และหากมีโรคประจำตัวควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และไปพบแพทย์ตามที่แพทย์นัดเพื่อสังเกตความผิดปกติของครรภ์ เพราะการไปพบแพทย์แต่ละครั้งคุณแม่ตั้งครรภ์จะได้รับการวัดความดัน ชั่งน้ำหนัก ตรวจโปรตีนในเลือด และตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ และหากตรวจพบภาวะ ความดันสูง ระหว่างตั้งครรภ์แพทย์จะได้ทำการรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ รวมถึงภาวะครรภ์เป็นพิษด้วย
อาการของโรคความดันสูง
คุณแม่ที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนนั่นก็คือภาวะโรค ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์มากที่สุดและเป็นโรคที่มีความอันตรายมากโรคหนึ่งเลย คุณแม่ที่มีภาวะความดันเลือดสูงจะมีอาการดังต่อไปนี้
- มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- มีอาการบวมไม่ว่าจะเป็นมือเท้าและใบหน้า (ซึ่งบางรายอาจจะไม่แสดงอาการนี้)
- มีอาการตาพร่ามัวมองไม่ค่อยชัด
- มีอาการวิงเวียนและปวดศีรษะมาก
- มีเลือดออกตามช่องคลอดและปวดเกร็งตามท้องทั้งสองข้าง
- ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง
- แน่นจุกตรงลิ้นปี่หรือบริเวณตรงชายโครงขวา
- ปวดปัสสาวะน้อยลง
การดูแลรักษา
การดูแลรักษาภาวะ ความดันสูง ของคุณแม่ตั้งครรภ์ แพทย์จะทำการรักษาตามความรุนแรงของโรคอย่างเช่น
1.ภาวะความดันโลหิตสูงที่รุนแรง
คุณแม่ตั้งครรภ์หากมีอาการโรค ความดันโลหิตสูง ที่อยู่ในระดับความรุนแรง แพทย์จะทำการรับตัวไว้เพื่อรักษาที่โรงพยาบาลและเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด โดยการตรวจสุขภาพของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ และให้ยาป้องกันอาการชักและยาลดความดันโลหิต หากตั้งครรภ์ครบกำหนดคลอดแล้วแพทย์จะทำคลอดอย่างเร่งด่วน แต่หากยังไม่ครบกำหนดแต่มีอาการที่รุนแรงมาก แพทย์อาจจะรักษาโดยยุติการตั้งครรภ์
2.ภาวะความดันโลหิตไม่รุนแรง
หากคุณแม่ตั้งครรภ์และพบว่ามีภาวะ ความดันโลหิตสูง ที่ไม่รุนแรงมากแพทย์จะทำการรักษาโดยการให้ยาลดความดันโลหิต และนัดให้มาตรวจครรภ์เป็นประจำถี่ขึ้น เพื่อติดตามความดันโลหิตและโปรตีนในปัสสาวะ พร้อมทั้งตรวจสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ตลอดการตั้งครรภ์
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนนี้ได้อย่างไร
ในปัจจุบันยังไม่มีผลสรุปที่แน่ชัดในการป้องกันโรคภาวะแทรกซ้อน ความดันโลหิตสูง ในระหว่างตั้งครรภ์ การป้องกันที่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทำได้ในเบื้องต้นของการตั้งครรภ์สามารถทำตามคำแนะนำของแพทย์ดังนี้
- หากพบว่ากำลังตั้งครรภ์คุณแม่ควรรีบไปทำการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันภาวะ ความดันสูง และโรคภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
- ไปพบแพทย์ตามแพทย์นัดทุกครั้งเพื่อทำการตรวจสุขภาพ วัดความดัน และตรวจโปรตีนในปัสสาวะ
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ทานอาหารที่มีประโยชน์ไขมันต่ำ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำ
- นับจำนวนดิ้นของเด็กทารกในครรภ์เป็นประจำหากมีอาการดิ้นที่น้อยลงให้รีบไปพบแพทย์
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักขึ้นมากจนเกินไปเพราะภาวะโรคเบาหวานจะนำมาซึ่งโรคความดันเลือดสูงได้เช่นกัน
ความดันโลหิตสูง ในระหว่างตั้งครรภ์เป็นโรคที่อันตรายมากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะ แทรกซ้อนครรภ์เป็นพิษได้ เพราะฉะนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องระวังภาวะแทรกซ้อนความดันเลือดสูงระหว่างตั้งครรภ์ให้มากๆ ด้วยการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักมากจนเกินไป ก็จะสามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะความดันเลือดสูงในระหว่างตั้งครรภ์ได้
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. เบาหวานในเด็ก ลูกน้อยก็เป็นได้ โรคที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม
2. โรคปอดบวมในเด็กที่คุณแม่ต้องระวัง โดยเฉพาะเมื่อหน้าหนาวมาเยือน
3. อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก เป็นอย่างไร สังเกตด่วนลูกเป็นโรคนี้หรือไม่
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team