ปัญหาการนอนของทารก
การนอนหลับของเด็กทารกเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะถ้าลูกได้รับการนอนพักผ่อนที่เพียงพอก็จะส่งผลให้ลูกมีอารมณ์ดีไม่งอแงและยังส่งผลให้มีพัฒนาการในการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรงด้วย แต่ถ้าลูกนอนไม่เพียงพอหรือมีปัญหาเรื่องการนอน จะส่งผลให้ลูกกลายเป็นเด็กงอแง และมีผลเสียต่อพัฒนาการทางร่างกายและสมองได้ การนอนของทารก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะถ้าลูกนอนพักผ่อนไม่เพียงพอนอกจากจะส่งผลเสียต่อลูกทำให้งอแงอารมณ์เสียแล้ว ยังส่งผลถึงคุณพ่อคุณแม่ผู้เลี้ยงดูอีกด้วย และนี่คือ 6 ปัญหาการนอนของเด็กทารกที่เราได้รวบรวมเอาไว้เพื่อให้คุณแม่ได้นำไปศึกษาพร้อมหาวิธีรับมืออย่างถูกวิธีนั่นเอง
6 ปัญหาการนอนของทารก มีอะไรบ้าง
ปัญหา การนอนของทารก เป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะถ้าลูกพักผ่อนไม่เพียงพอจะส่งผลถึงอารมณ์และพัฒนาการได้ ปัญหาการนอนมีอะไรและแบบไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ เราได้รวบรวมมาไว้ให้แล้ว
1.ลูกนอนหลับยาก
การนอนของทารก นอนหลับยาก หากสังเกตเห็นว่าลูกนั้นมีอาการหลับยาก แม้ว่าจะพาเข้านอนแล้วก็ยังอยากตื่นมาเล่น นอนไม่เป็นเวลา ไม่ยอมนอนง่ายๆ หรือมักจะนอนหลับในช่วงเวลาที่ไม่ควรหลับ อาจมีสาเหตุมาจากการที่คุณพ่อคุณแม่เล่นกับลูกมากจนเกินไป ซึ่งหลายคนมักเข้าใจผิดว่าการเล่นกับลูกมากๆ ในเวลาที่ลูกตื่นจะทำให้ลูกหมดแรงและหลับไปในที่สุด แต่บางครั้งการทำแบบนี้ก็ไม่ได้ผลกับเด็กทุกคน เพราะเด็กบางคนยิ่งเล่นด้วยยิ่งไม่อยากหลับอยากนอน หรืออีกสาเหตุหนึ่งก็มาจากคุณพ่อคุณแม่ชอบสร้างนิสัยแบกลูกหลับบนบ่าและโยกไปมาก่อนลูกจะหลับ ทำให้เด็กติดภาพจำว่าถ้าจะหลับจะต้องมีคนมาอุ้มให้หลับก่อนนั่นเอง
2.ลูกนอนละเมอ
อาการลูกนอนละเมอ เป็นความผิดปกติอย่างหนึ่ง เพราะการนอนละเมอจะทำให้คลื่นสมองช้าลงไม่สามารถควบคุมตัวเองได้และทำให้การรับรู้ที่ช้าลงด้วย ซึ่งมันจะอันตรายมากหากเกิดในกลุ่มเด็กโตเพราะการเดินนอนละเมอลุกขึ้นโดยที่ไม่รู้สึกตัวจะทำให้เป็นอันตรายเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้นั่นเอง
3.มีอาการสำลัก
อาการนอนสำลักน้ำลายในเด็กทารกมักเกิดขึ้นกับเด็กทารกที่มีน้ำลายในปากมากเกินไป ทำให้เกิดอาการสำลักระหว่างที่นอนหลับ การนอนของทารก จึงไม่ใช่เรื่องที่แปลกที่จะสำลักในเวลาที่นอนหลับจนทำให้เด็กตื่นขึ้นมาในเวลากลางดึก ซึ่งจะพบได้มากกับเด็กที่นอนหงาย โดยถ้าลูกมีอาการสำลักน้ำลายระหว่างนอนเป็นประจำ คุณแม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการจับลูกน้อยนอนตะแคง ช่วยจัดท่านอนที่ถูกต้องจะทำให้ลดอาการดังกล่าวลงได้
4.นอนฝันร้าย
อาการ ทารกนอนหลับไม่สนิท อีกสาเหตุหนึ่งมักจะมาจากการนอนฝันร้ายและทำให้สะดุ้งตื่นเป็นประจำ มักเกิดขึ้นในระหว่างที่นอนหลับแต่สมองยังทำงานอยู่ และเมื่อฝันร้ายก็จะตกใจสะดุ้งตื่นร้องไห้ หรือเรียกหาพ่อแม่ ทั้งนี้ลูกจะตื่นเต็มที่และจะมีสติกลับมาเมื่อคุณแม่เรียก โดยเด็กๆ มักจะฝันร้ายเมื่อได้รับข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่งและเก็บมาคิดจนทำให้ต้องเกิดฝันร้ายนั่นเอง
5.นอนหายใจทางปาก
โดยปกติเด็กควรนอนหายใจทางจมูกเป็นหลัก การนอนของทารก แต่เมื่อลูกมีอาการนอนอ้าปากและหายใจทางปากนั่นแสดงว่าลูกมีอาการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้นและโพรงจมูก ซึ่งเป็นอันตรายต่อเด็กมากๆ และหากเกิดอาการแทรกซ้อน ลูกอาจจะอันตรายถึงชีวิตได้
6.หยุดหายใจระหว่างนอน
ปัญหาลูกหยุดหายใจในขณะหลับ หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก สาเหตุเกิดจาการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ในส่วนต้นในขณะนอนหลับ จนทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจนในระหว่างนอน และเสี่ยงภาวะไหลตายได้ ปัญหานี้เป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามเพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว
คำแนะนำเรื่องการนอนของลูก
หากลูกมีอาการนอนหลับยาก ทารกนอนหลับไม่สนิท หรือมีปัญหาในเรื่องของการนอน คุณแม่สามารถปรับวิธีการนอนของลูกใหม่เพื่อที่จะทำให้ลูกนอนหลับได้สนิทไม่มีปัญหาในเรื่องของการนอน โดยสามารถทำตามด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- การนอนของทารก ก่อนพาลูกเข้านอนควรสร้างบรรยากาศห้องนอนให้เงียบสงบ หรือจะมีการอ่านนิทานให้ลูกน้อยฟังก่อนนอนก็สามารถทำได้ เพราะจะช่วยให้ลูกนอนหลับสนิทมากยิ่งขึ้น
- ปรับอุณหภูมิในห้องให้เหมาะสมคือไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไปและยิ่งมืดเท่าไหร่ก็จะยิ่งดี
- หากลูกมีอาการง่วงนอนไม่ว่าจะถึงเวลานอนหรือไม่ ควรรีบพาลูกเข้านอนเลย
- สิ่งที่คุณแม่ควรฝึกให้ลูกเกิดความเคยชินคือการพาลูกเข้านอนเป็นเวลา จะทำให้ลูกมีวินัยในการนอนและเมื่อถึงเวลาก็จะสามารถนอนได้ในที่สุด
และนี่คือปัญหา การนอนของทารก ที่เราได้นำมาแนะนำให้ทราบในวันนี้ เป็นปัญหาที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะส่งผลให้ลูกมีพัฒนาการที่ช้า ร้องไห้งอแงกวนใจตลอด เป็นสิ่งที่คุณแม่จะต้องใส่ใจและควรได้รับการแก้ไข ลูกน้อยจะได้กลับมามีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและเติบโตมีพัฒนาการที่สมบูรณ์นั่นเอง
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. ลูกไม่นอน ลูกหลับยากเอาอยู่ด้วย7วิธีสุดเทพ
2. ลูกนอนไม่เป็นเวลา แม่กลุ้มใจมาก แก้อย่างไรดี?
3. เคล็ดลับการเลี้ยงลูก : 3 สิ่ง ที่พ่อแม่ไม่ควรทำเมื่อลูกตื่นมาร้องไห้ตอนกลางคืน
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorail Team