พัฒนาการของลูกสร้างได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพราะขณะที่ตั้งครรภ์นั้น ลูกจะมีพัฒนาการต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ และแม่เองก็เป็นตัวช่วยสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการลูกทั้งขณะตั้งครรภ์และหลังจากคลอด ซึ่งช่วงหลังคลอดนั้นเป็นช่วงที่พ่อแม่ต้องกระตุ้นพัฒนาการลูกอย่างดี แต่จะช่วยกระตุ้นอย่างไร Mamaexpert มีวิธีกระตุ้นพัฒนาการของลูกตั้งแต่แรกเกิดมาฝากค่ะ
พัฒนาการของลูกสร้างได้ง่ายๆ ตั้งแต่แรกเกิด
พัฒนาการของลูกเป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ซึ่งพัฒนาการของเด็กในช่วง 3 ปีแรก เป็นช่วงที่ก้าวกระโดด หรือเรียกว่าเป็นวัยทองที่มีการพัฒนา การเรียนรู้ที่รวดเร็ว และที่เห็นได้ชัดเจนคือเรื่องพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญา
1. พัฒนาการด้านร่างกายของลูก ในส่วนของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กที่เปลี่ยนแปลงไป จะเริ่มจากส่วนหัวไปสู่ขา และต่อเนื่องกันเป็นลำดับขั้นตอน เช่น เริ่มชันคอ ก่อนพลิก คว่ำหรือหงาย นั่ง คลาน ยืนเกาะ เกาะเดิน ยืนได้เอง เดินได้เอง วิ่ง เกาะราวบันได เตะบอล แต่เด็กบางคนอาจมีพัฒนาการข้ามขั้นตอนไปได้ เช่น นั่งได้ แต่อาจไม่คลาน จะเริ่มคุกเข่าแทน เป็นต้น
ในส่วนของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะเริ่มพัฒนาจากส่วนต้นของลำตัว แขนขา ไปสู่ส่วนปลาย พัฒนาการส่วนนี้จะทำงานสัมพันธ์กับการใช้สายตา เช่น ใช้สายตาในการมองวัตถุแล้วใช้นิ้วมือหยิบ การขีดเขียนที่ต้องใช้สายตาทำงานร่วมกันกับมือ ซึ่งพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาจากกิจกรรมที่ง่ายไปสู่กิจกรรมที่มีซับซ้อนขึ้น เช่น การร้อยลูกปัด ที่ต้องใช้สายตา นิ้วมือและข้อมือทำงานร่วมกัน ดังนั้นแล้วการกระตุ้นพัฒนาการด้านร่างกายให้กับลูกตั้งแต่แรกเกิดนั้น พ่อแม่ต้องฝึกให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ อย่างเต็มที่ ตอบสนองกับลูก แต่อย่าช่วยเหลือลูกมากเกินไป เพราะจะส่งผลให้พัฒนาการล่าช้าได้ พ่อแม่ต้องปล่อยให้เป็นตามขั้นตอน ไม่ขัดขวางพัฒนาการของลูก
2. พัฒนาการด้านสติปัญญา พัฒนาการด้านนี้เป็นการผสมผสานพัฒนาการด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านภาษา การพูดสื่อสาร ความเข้าใจ ซึ่งภาษาจะสัมพันธ์กับด้านสติปัญญามากที่สุด และส่งผลต่อไปยังพัฒนาการด้านอื่นๆ ดังนั้นแล้วการที่ลูกจะมีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ดี คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกระตุ้นหรือส่งเสริมให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่ได้ฝึกการใช้พัฒนาการทุกด้านร่วมกัน เช่น การเล่นเกม การตอบคำถาม อ่านหนังสือ เล่นบทบาทสมมติ รวมทั้งการช่วยเหลือตนเอง เป็นต้น
แล้วคุณแม่รู้ไหมคะว่า ตัวช่วยสำคัญในการกระตุ้นหรือส่งเสริมพัฒนาการให้กับลูกอีกอย่างก็คือ สารอาหารหรืออาหารที่ลูกทาน เพราะให้ทั้งพลังงาน ช่วยเสริมสร้างร่างกายและสติปัญญา ซึ่งสารอาหารที่ลูกได้รับมาตั้งแต่แรกเกิดก็คือนมแม่ นมแม่เป็นนมที่มีสารอาหารสำคัญเพียงพอต่อการเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกาย สติปัญญาอย่างมาก เพราะนมมีกระบวนการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์จึงทำให้ได้สารอาหารจากธรรมชาติสูง ในช่วงแรกเกิดถึง 6 เดือน การดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียวจึงเพียงพอต่อความต้องการของลูก และหลังจากนั้นค่อยเสริมอาหารเสริมต่างๆ เข้าไป แต่หากคุณแม่ไม่สะดวกต่อการให้นมลูกเมื่อลูกอายุมากขึ้น การเลือกนมทางเลือกก็เป็นสิ่งจำเป็น วันนี้ Mamaexpert มีนมทางเลือกที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูก อย่าง นมแพะ มาฝากค่ะ
นมแพะช่วยสร้างพัฒนาการให้ลูกได้อย่างไร?
คุณแม่บางท่านอาจทราบแล้วว่านมแพะมีกระบวนการสร้างน้ำนมแบบเดียวกับนมแม่ ที่เรียกว่า “อะโพไครน์”
ภาพแสดงระบบการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์
นมแพะจึงมีสารอาหารครบถ้วนจากธรรมชาติหรือที่เรียกว่า “ไบโอแอคทีฟ คอมโพเนนท์” (Bioactive components) ซึ่งมีสารอาหารดังนี้
- นิวคลีโอไทด์ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
- ทอรีน ช่วยให้การทำงานของจอประสาทตาดี
- โพลีเอมีนส์ ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารมีความสมบูรณ์
- โกรทแฟคเตอร์ ช่วยให้มีการเจริญเติบโตที่สมวัย
ภาพแสดงสารอาหารจากธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังมี DHA และ ARA ที่ช่วยในการพัฒนาสมองและการมองเห็น โอเมก้า 3, 6, 9 ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยพัฒนาสมอง โคลีน ช่วยพัฒนาการเรียนรู้และความจำ แคลเซียม ช่วยในการสร้างกระดูกและฟัน วิตามินบี 12 ช่วยในการทำงานของระบบประสาท ประโยชน์เยอะขนาดนี้ รับรองเลยว่าพัฒนาการของลูกต่อยอดได้ไกลแน่นอนค่ะ
อย่าลืมนะคะ พัฒนาการของลูกในทุกๆ ด้านจะดีได้ ต้องมาจากการใส่ใจ การกระตุ้นจากพ่อแม่ ช่วยให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างเต็มที่ และที่ขาดไม่ได้เลยคือพ่อแม่ต้องเลือกสารอาหารที่ช่วยบำรุงร่างกายและสมองให้ลูกพร้อมเรียนรู้ในทุกๆ ด้าน หากจะมองหาตัวช่วยดีๆ อย่าลืม นมแพะ DG นะคะ
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
อ้างอิง :
- ประโยชน์ของนมแพะ.เข้าถึงได้จาก https://www.dgsmartmom.com/benefits-of-product/.[ค้นคว้าเมื่อ 19 เมษายน 2563]
- ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.คู่มือสําหรับพ่อแม่ ตอนวัยเด็กเล็ก 0-3 ปี.เข้าถึงได้จาก http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20171010123052.pdf.[ค้นคว้าเมื่อ 19 เมษายน 2563]