ผ่าคลอดต้องเสี่ยงอะไรบ้างสำหรับแม่และลูกน้อยที่กำลังจะเกิดมา เข้าใจความจำเป็นของการผ่าคลอด และการดูแลตัวเองสำหรับแม่ผ่าคลอด อะไรที่จะช่วยให้ลูกน้อยมีภูมิคุ้มกันไม่ด้อยไปกว่าเด็กที่เกิดจากการคลอดแบบธรรมชาติ
ทำความเข้าใจข้อดีข้อเสียของการผ่าคลอด
ทำไมบางคนถึงต้องผ่าคลอด การคลอดธรรมชาติไม่ดีตรงไหน สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้ก็คือ การผ่าคลอดเป็นทางออกสำหรับแม่ที่ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ หรือมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น ลูกตัวใหญ่เกินกว่าที่จะคลอดปกติ, รกเกาะต่ำ อยู่ในตำแหน่งที่เสี่ยงต่อการขวางทางออกในการคลอด, คุณแม่ตั้งครรภ์แฝดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป, สรีระของคุณแม่ไม่พร้อม กระดูกเชิงกรานเล็กเกินไป, สายสะดือสั้นเกินไป และความไม่พร้อมต่างๆ ของสุขภาพแม่ หรือแม้แต่การคลอดในภาวะฉุกเฉิน และเมื่อแม่รู้ว่าจำเป็นต้องผ่าคลอด อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามก็คือ เรื่องของภูมิต้านทาน หรือภูมิคุ้มกันของลูกที่อาจจะพัฒนาช้านั่นเอง
มีการวิจัยเด็ก 1.9 ล้านคน ทำให้พบว่าเด็กที่เกิดจากการผ่าคลอดมีความเสี่ยงต่อการมีภูมิต้านทานอ่อนแอเพิ่มขึ้นถึง 46%
เสี่ยงต่อโรคหอบหืดเพิ่มขึ้นถึง 23% และเสี่ยงต่อโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังเพิ่มขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับเด็กที่คลอดธรรมชาติ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลจนเกินไปนะคะ เพราะเราสามารถเร่งคืนภูมิต้านทานให้กับเขาได้ด้วยนมแม่ และโภชนาการที่เหมาะสมที่มีองค์ประกอบในการสร้างเสริมภูมิต้านทาน โดยเฉพาะจุลินทรีย์สุขภาพ (ไพรโบโอติก) และอาหารของจุลินทรีย์ (พรีไบโอติก) ที่ทำงานร่วมกันแบบ ซินไบโอติก ประกอบกับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ก็จะสามารถเร่งคืนภูมิต้านทานให้ลูกน้อยได้
ภูมิต้านทานช่วงแรกหลังผ่าคลอด รากฐานชีวิตที่ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว
การผ่าคลอดมีผลต่อ ‘ภูมิต้านทาน' ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวตลอดชีวิตของลูก ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจรุงจิตร์ งามไพบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำว่า
"ช่วงแรกเกิด คือช่วงโอกาสทอง ที่จะส่งเสริมระบบภูมิต้านทาน ให้ลูกน้อยแข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย เพื่อรองรับทุกพัฒนาการ และการเจริญเติบโตในอนาคต หากพลาดโอกาสทองนี้ไป ก็ไม่สามารถย้อนเวลากลับคืนมาได้"
ลูกน้อยผ่าคลอดสามารถแข็งแรงได้ แต่ครอบครัวไม่มองข้าม
แม้การผ่าคลอดอาจทำให้โอกาสพัฒนาภูมิต้านทานของลูกน้อยล่าช้า และอาจส่งผลให้เขาเจ็บป่วยง่าย เป็นอุปสรรค ต่อพัฒนาการในด้านต่างๆ หากแต่คุณแม่รู้ทัน และไม่มองข้ามที่จะเร่งคืนภูมิต้านทานตั้งต้น ด้วยโภชนาการช่วงแรกของชีวิต ที่เหมาะสม เท่ากับเป็นการมอบพื้นฐานภายในทีแข็งแรง เพื่อเป็นพลังสู่ความสำเร็จในอนาคต
นอกจากนั้น เพราะเด็กผ่าคลอด ขาดโอกาสได้รับจุลินทรีย์สุขภาพต่างจากเด็กที่คลอดธรรมชาติ ซึ่งจุลินทรีย์สุขภาพดังกล่าวเปรียบได้กับภูมิต้านทานตั้งต้นที่มีบทบาทต่อการกำหนดภูมิต้านทานในระยะยาวของลูกน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จุลินทรีย์สุขภาพ ชนิด บิฟิโดแบคทีเรีย เพราะว่า 70% ของเซลล์ภูมิต้านทานอยู่ในลำไส้ การมีสมดุลของจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ที่ดี จะเอื้อต่อพัฒนาการของระบบภูมิต้านทาน จึงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ช่วยลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และส่งเสริมให้เด็กผ่าคลอดมีภูมิต้านทานตั้งต้นกลับคืนมาใกล้เคียงกับเด็กที่คลอดธรรมชาติได้