อาหารบำรุงครรภ์ 7 เดือน
คุณแม่เข้าสู่ไตรมาสที่สามแล้วเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับคุณแม่เพราะอีกไม่กี่สัปดาห์ คุณแม่จะได้เห็นหน้าลูกน้อยแล้วค่ะ ไตรมาสที่สามคุณแม่อาจจะมีความรู้สึก ถึงอาการแปลก ๆ หลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ กับร่างกาย เช่น มีอาการปวดชาตามมือและเท้า อาการตะคริวตอนกลางคืน หรืออาการบวมตามแขนขา และร่างกาย
ความสำคัญของการบำรุงครรภ์เมื่ออายุครรภ์ 7 เดือน
เริ่มจากเดือนนี้เป็นต้นไป คุณแม่และลูกน้อยต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสเพิ่มมากขึ้น เพื่อไปใช้ประโยชน์ในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน ลดอาการเป็นตะคริวให้กับคุณแม่ ระบบนัยน์ตาพัฒนาเกือบสมบูรณ์ ลูกของคุณเริ่มลืมตาขึ้นได้แล้วในสัปดาห์นี้ สีนัยน์ตาของเขาจะพัฒนาต่อไปจนหลังคลอด 2-3 เดือน กลุ่มอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม ปลาไส้ตัน ถั่วเหลือง ไข่แดง ข้าวโพด บร็อกโคลี ผักโขม ถ้าร่างกายรับสารอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอ คุณแม่มีโอกาสเป็นตะคริวและฟันผุได้ง่าย
สุดยอดอาหารบำรุงครรภ์ 7 เดือน
ระบบนัยน์ตาพัฒนาเกือบสมบูรณ์แล้ว คุณแม่ยังมีอาการปวดชาตามมือและเท้า อาการตะคริวตอนกลางคืน หรืออาการบวมตามแขนขา ซึ่งอาการเหล่านี้ก็เกิดจากการกินอาหาร และการดูแลตัวเอง หากมีอาการตะคริวบ่อย ๆ มักจะเกิดจากการขาดสารอาหารที่ได้จากแคลเซียม ดังนั้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายคุณแม่ควรเลือกทานอาหารให้เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงอาการกวนใจดีกว่าค่ะ อาหารที่คุณแม่ควรเน้นทานให้มากมีดังนี้
1. วิตามินเอ
จะช่วยพัฒนาอวัยวะสืบพันธ์ของทารก วิตามินเอมีมากใน มะละกอ ฟักทอง ตำลึงมีวิตามินเอสูงสุด แตงกว่า ผักกาดขาว มะเขือเทศ
2. โอเมก้า3
เป็นอาหารที่ช่วยพัฒนาระบบสายตาของลูก พบได้ที่ เมล็ดฝักทองและน้ำมันปลา
3. ธาตุเหล็ก
เพื่อเตรียมตัวสำหรับการคลอดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ถ้าคุณแม่มีภาวะซีดจางในช่วงใกล้คลอดคงไม่ดีต่อตัวทารกแน่นอน อาหารที่ควรเน้นคือ เนื้อแดง ถั่ว ข้าว ธัญพืช
4. โปรตีน
อาหารที่ให้โปรตีนสูง ๆ เช่น ไข่ ต้องกินไข่ให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 ฟองค่ะ ป้องกันภาวะซีดจางในช่วงใกล้คลอด
5. คาร์โบไฮเดรต
ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายอาจภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้นได้ แถมร่างกายของคุณก็อ่อนล้าจากการเปลี่ยนแปลงในร่างกายหลายอย่าง คาร์โบไฮเดรตและวิตามินบี 1 จะช่วยให้คุณแม่มีพละกำลังพร้อมที่จะอึดเพื่อลูกน้อยในครรภ์ต่อไปจนถึงวันคลอด คาร์โบไฮเดรตมีทั้งชนิดดีและไม่ดีค่ะ คาร์โบไฮเดรตชนิดดีต่อสุขภาพแม่ตั้งครรภ์คือคาร์โบไฮเดรตหรืออาหารประเภทแป้งที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี หรือแทบไม่จะไม่ผ่านกรรมวิธีดัดแปลงใด ๆ มาเลย เช่น ถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียว พืชที่มีฝัก มัน โฮลวีท โฮลเกรน รวมทั้งซีเรียลและพาสต้าโฮลวีทด้วยนะคะ
อาหารบำรุงครรภ์ 7 เดือนที่ควรหลีกเลี่ยง
ในเดือนนี้คุณแม่ควรระวังเรื่องอาหารเป็นพิเศษเพราะเริ่มเข้าสู่ไตรมาสที่สามแล้ว ลูกน้อยในครรภ์ใกล้พร้อมที่จะออกมาสู่โลกภายนอก ดังนั้นอาหารที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงมีดังนี้
1. อาหารที่มีรสเค็ม
เพราะ จะทำให้คุณแม่มีอาการบวมตามร่างกายส่วนต่าง ๆ เช่น เท้า มือ ในไตรมาสที่สาม หากคุณแม่มีอาการแบบนี้อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอย่างอื่นตามมาได้
2. อาหารรสเผ็ด
จะทำให้คุณแม่ไม่สบายท้อง และเกิดความอึดอัดได้เนื่องจากท้องของคุณแม่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดได้
3. เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอาจทำให้คุณแม่ท้องผูกได้และที่สำคัญมีผลเสียต่อลูกน้อยในครรภ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม หากคุณแม่ท้องทานเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนรับมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และมีความเสี่ยงแท้งลูกมากกว่าแม่ที่ไม่ได้รับคาเฟอีน
4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์ทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ประสาท ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตบกพร่อง น้ำหนักแรกเกิดน้อยและมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง มีปัญหาด้านความจำ การเคลื่อนไหวผิดปกติ และมีอาการซุกซนไม่อยู่นิ่ง สมาธิสั้น
5. การสูบบุหรี่
บุหรี่มีสารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ในควันบุหรี่ และทาร์จะมีผลต่อการทำงานของสารสื่อประสาท ก่อให้เกิดปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม เช่น เชาวน์ปัญญาบกพร่อง มีปัญหาการเรียน ซุกซนมากผิดปกติ สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว ตลอดจนมีปัญหาด้านการเข้าสังคม
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกหลักโภชนาการถือเป็นส่วนสำคัญในการตั้งครรภ์ นอกจากนั้นคุณแม่จำเป็นตั้งออกกำลังกายที่เบา เช่น โยคะ การเดินหรือการว่ายน้ำเป็นกิจกรรมที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด Mama Expert เป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนค่ะ
อาหารบำรุงครรภ์ ในช่วงอายุครรภ์อื่นๆ คลิกเลย →→
ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่ |
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
อ้างอิง :
1. อาหารไตรมาส 2(อายุครรภ์4-6เดือน) คุณแม่ท้องผูกต้องกินอย่างไร?.เข้าถึงได้จาก https://channel.mahidol.ac.th/?page=view&id=1756. [ค้นคว้าเมื่อ 16 มีนาคม 2561].
2. ผศ.พญ.สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล.ผลกระทบของการเสพสารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์.เข้าถึงได้จาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=796. [ค้นคว้าเมื่อ 16 มีนาคม 2561].
3. 9 อาหารคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรทาน.เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/PjirVc. [ค้นคว้าเมื่อ 16 มีนาคม 2561].
4. Your pregnancy : 28 weeks.เข้าถึงได้จาก https://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-28-weeks_1117.bc. [ค้นคว้าเมื่อ 16 มีนาคม 2561].