อาหารบำรุงครรภ์ 3 เดือน
ยินดีด้วยค่ะคุณแม่เดินทางมาถึงเดือนที่ 3 แล้ว ไตรมาสแรกของคุณแม่กำลังจะผ่านไป เดือนที่ 3 นี้ทารกในครรภ์เริ่มมีพัฒนาการที่รวดเร็ว มีอวัยวะที่สมบรูณ์ แต่คุณแม่ยังไม่รู้สึกเพราะทารกยังตัวเล็กอยู่และท้องก็จะเริ่มใหญ่ขึ้นดังนั้นอาหารและโภชนาการที่สำคัญของคุณแม่ในเดือนที่ 3 ก็สำคัญไม่แพ้กันค่ะ
ความสำคัญของการบำรุงครรภ์เมื่ออายุครรภ์ 3 เดือน
ไตรมาสแรกกำลังจะผ่านไป สำหรับเดือนนี้คุณแม่อาจจะยังมีอาการแพ้ท้องอยู่แต่ไม่มาก เดือนที่ 3 ทารกเริ่มมีพัฒนาการที่ชัดเจนยิ่งขึ้นอวัยวะครบถ้วน เริ่มมีการขยับแขน ขา ศีรษะ อ้าปากและหุบปากได้ นิ้วเริ่มมีเล็บ แต่ท่านยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวเนื่องจากเด็กยังมีขนาดเล็ก ดังนั้นคุณควรควรทานอาหารที่มีแคลเซียม วิตามินบี6 คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เหล็กและกรดโฟเลต ที่ช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการของทารกและสุขภาพของคุณแม่
สุดยอดอาหารบำรุงครรภ์ 3 เดือน
แน่นอนว่าในเดือนที่ 3 นี้ลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่มีอวัยวะที่ครบถ้วน แขน ขา เริ่มขยับ นิ้วมือมีเล็บขึ้น และท้องของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้น ทารกยังได้รับสารอาหารจากคุณแม่โดยตรงอีกด้วย อาหารสำคัญที่คุณแม่ควรทาน มีดังนี้
1. แคลเซียม
คือสารอาหารหลักที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงให้กับทารกในครรภ์ และตัวของคุณแม่เอง หากจะให้การดูดซึมแคลเซียมอย่างมีประสิทธิภาพ คุณแม่ต้องออกไปรับแดดยามเช้าตรู่เพื่อรับวิตามินดี หรือทานไข่ นม และน้ำมันปลา ก็ช่วยได้เช่นกันค่ะ
2. โฟเลต
อายุครรภ์ 3 เดือนคุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีโฟเลตเพราะจะช่วยเรื่องการผสานเซลล์ของทารกจากเมนูเหล่านี้ เช่น ธัญพืชและถั่ว นอกจากนี้คุณแม่ยังได้รับยาบำรุงเลือดและกรดโฟลิกจากคุณหมออีกด้วย
3. ธาตุเหล็ก
อายุครรภ์ 3 เดือนคุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก พบได้ที่บีทรูท ข้าวโอ๊ต รำข้าว ปลาทูน่า ถั่ว เนื้อสัตว์ ส้ม มันฝรั่ง ไข่ และ ผักใบเขียว
4. น้ำสะอาด
คุณแม่ควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว เนื่องจากท้องของคุณแม่เริ่มขยายขึ้นและจะไปกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณแม่ปัสสาวะบ่อย จึงต้องทานน้ำเข้าไปเพิ่มขึ้นเพื่อไปทดแทนน้ำที่เสียไป เพราะน้ำมีความสำคัญต่อกระบวนการย่อยอาหาร ภายในร่างกายของคุณแม่ค่ะ
อาหารบำรุงครรภ์ 3 เดือน ที่ควรหลีกเลี่ยง
ไตรมาสแรกของคุณแม่กำลังจะผ่านไปและเข้าสู่ไตรมาสที่สอง และในตอนนี้คุณแม่อยู่ในภาวะที่สำคัญและมีความเปราะบางของการตั้งครรภ์ในเดือนนี้ ดังนั้นการทานอาหารควรทำตามคำแนะนำของหมอและอาหารที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้
1. ตับ
คุณแม่ควรงดทานตับ และน้ำมันตับปลา หรืออาหารที่มีวิตามินเอสูง เพราะอาหารกลุ่มนี้จะมีกรดไขมันอิ่มตัวสามารถสะสมในร่างกายของคุณแม่ได้ มีผลต่อารเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์คลอดออกมาพิการหรือแท้งได้
2. อาหารขยะ
อาหารขยะหรืออาหารที่ไม่ให้สารอาหารที่ครบถ้วน เช่น พิซซ่า เบอร์เกอร์ เพราะอาหารเหล่านี้อาจมีเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจทำให้ก่อเชื้อโรคได้
3. เครื่องดื่มแอลกอฮล์ทุกชนิด
แอลกอฮอล์ทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ประสาท ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตบกพร่อง น้ำหนักแรกเกิดน้อยและมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง มีปัญหาด้านความจำ การเคลื่อนไหวผิดปกติ และมีอาการซุกซนไม่อยู่นิ่ง สมาธิสั้น
4. กาแฟ ชา
มีสารคาเฟอีน อาจทำให้ท้องผูกง่าย ทำให้ใจสั่น นอนไม่หลับ และกระตุ้นปัสสาวะทำให้ช่วงเวลาเพื่อการพักผ่อนน้อยลงและยังส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ ที่อาจจะเกิดอาการเดียวกันกับมารดา
5. ควรเลิกสูบบุหรี่
เพราะในบุหรี่มีสารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ในควันบุหรี่ และทาร์จะมีผลต่อการทำงานของสารสื่อประสาท ก่อให้เกิดปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม เช่น เชาวน์ปัญญาบกพร่อง มีปัญหาการเรียน ซุกซนมากผิดปกติ สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว ตลอดจนมีปัญหาด้านการเข้าสังคมและจะทำให้ระบบประสาท และสมองของลูกถูกทำลาย จนทำให้พิการตั้งแต่กำเนิดได้
4. อาหารทะเล
อาหารทะเลบางชนิดที่อาจมีสารเมทิลปนเปื้อนมา ที่ทำให้ระบบประสาทของทารกถูกทำลายหรือมีภาวะปัญญาอ่อนได้
5. ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน
การรับประทานอาหารที่มีไขมันและมีรสชาติจัดด้วย
คุณแม่ทราบแล้วว่าในเดือนที่3 ต้องทานอาหารประเภทไหนที่ช่วยบำรุงร่างกายและช่วยพัฒนาการของลูกน้อยภายในครรภ์ แต่หากคุณแม่จะทานอาหารประเภทไหนก็แล้วแต่อย่าลืมว่า สิ่งที่สำคัญ คือ ชีวิตเล็กๆที่กำลังเติบโตอยู่ภายในตัวของคุณแม่
อาหารบำรุงครรภ์ ในช่วงอายุครรภ์อื่นๆ คลิกเลย →→
ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่ |
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
อ้างอิง :
1. รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล.อยากกระตุ้นลูกฉลาดตั้งแต่อยู่ในท้อง เข้าถึงได้จาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/obstretrics_gynecology/dept_article_detail.asp?a_id=425. [ค้นคว้าเมื่อ 12 มีนาคม 2561].
2. ผศ.พญ.สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล.ผลกระทบของการเสพสารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์.เข้าถึงได้จาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=796. [ค้นคว้าเมื่อ 12 มีนาคม 2561].
3. 9 อาหารคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรทาน.เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/PjirVc. [ค้นคว้าเมื่อ 12 มีนาคม 2561].
4. Your pregnancy: 12 weeks.เข้าถึงได้จาก https://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-12-weeks_1101.bc. [ค้นคว้าเมื่อ 12 มีนาคม 2561].