ความสูงลูกตกเกณฑ์
ลูกขาด growth hormone สาเหตุหลักที่ทำให้ตัวเตี้ย
การพร่องฮอร์โมนการเจริญเติบโต ( growth hormone )ทำให้ความสูงตกเกณฑ์ ฮอร์โมนการเจริญเติบโตนี้จะสร้างจากต่อมใต้สมอง โดยอาจจะเกิดความบกพร่องแบบขาดฮอร์โมนตัวเดียว หรืออาจเกิดร่วมกับการขาดฮอร์โมนของต่อมใต้สมองตัวอื่นๆ ร่วมด้วย โดยทั่วไปเด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้จะมีความสูงเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 2 นิ้ว หรือ 5 ซม. ต่อปีการเจริญเติบโตจะเริ่มผิดปกติเมื่อเด็กอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไปโดยก่อนหน้านั้นเด็กมักจะเจริญเติบโตได้อย่างปกติ ร่างกายจะดูสมส่วนเมื่อเทียบกับความสูงคือจะไม่ผอมแกนหรือดูขาดอาหาร นอกจากนั้นแล้วเด็กที่มีภาวะนี้จะดูอ่อนเยาว์กว่าอายุจริง โดยจะเห็นชัดเจนขึ้นเมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดีญวกัน
จะทราบได้อย่างไรว่าเด็กเกิดภาวะพร่องgrowth hormone
หากดูสังเกตพบว่าหลัง2ปีขึ้นไปแล้วความสูงหยุดอยู่กับที่ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยโดยเริ่มพิจารณาลักษณะการเจริญเติบโตย้อนหลัง จากการพิจารณาจากกราฟแสดงการเจริญเติบโตโดยน้ำหนักและส่วนสูงในอดีตสามารถย้อนดูจากสมุดวัคซีนประจำตัว สมุดพกในโรงเรียน การบันทึกส่วนสูงและน้ำหนักจะมีส่วนสำคัญมากในจุดนี้ ต่อไปนี้แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียด และตามมาด้วยการถ่ายภาพเอกซเรย์ของกระดูกข้อมือซ้ายเพื่อประเมินอายุกระดูก จากนั้นอาจจะมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม โดยอาจดำเนินการเจาะเลือดทีเดียวหรือเป็นการตรวจโดยการกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโตด้วยการให้ยากินยาฉีด การนอนหลับลึกในตอนกลางคืนโดยเด็กที่เข้ารับการรักษาต้องนอนที่โรงพยาบาลอหรือการออกกำลังกายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกันแล้วแต่ดุลย์พินิจของแพทย์
แนวทางการรักษาภาวะพร่องgrowth hormone
รักษาด้วยการให้ฮอร์โมน ซึ่งจะทำได้ด้วยการให้ยาฉีดทุกวันวันละครั้ง เพื่อเป็นการลดความกลัว กังวล และความเจ็บปวดจากการฉีดยาเข็มที่ใช้ในการให้ฮอร์โมนการเจริญเติบโตจะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าแทบจะไม่เห็น การฉีดจะทำได้เองที่บ้านโดยคุณพ่อคุณแม่ หรือตัวเด็กเองทั้งนี้ผลการรักษาในเกือบทุกกรณีจะเป็นที่น่าพึงพอใจมากต่อผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเด็กเองถึงแม้ว่าการรักษาจะค่อนข้างยุ่งยากกว่าการรับประทานยา ธรรมดา
ป้องกันภาวะพร่องgrowth hormoneได้อย่างไร
ภาวะภาวะพร่องgrowth hormone ป้องกันยาก แต่คุณพ่อคุณแม่เป็นคนแรกที่จะรู้ว่าลูกเกิดภาวะผิดปกติด้านความสูง สังเกตุได้จากสมุดบันทึกสุขภาพ ที่ทางโรงพยาบาลบันทึกทุกครั้งที่ไปฉีดวัคซีน เพราะฉะนั้น การสังเกตพบและรีบรักษาก่อนช่วงอายุ 10 จะทำให้การรักษาประสบผลสำเร็จสูงสุด
คุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงเด็ก อย่าละเลยเรื่องการเจริญเติบโตของลูกนะคะการสังเกตพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆจะช่วยให้การรักษาได้ผล ความใส่ใจเท่านั้นค่ะช่วยลดความผิดปกติของลูกได้
บทความแนะนำเพิ่อมเติม
1. พี่อิจฉาน้อง ป้องกันอย่างไรดี
2. กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์คืออะไร อันตรายต่อเด็กหรือไม่?
3. 10 วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาดและมีวิทยาศาสตร์รองรับ
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team