อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ ลูกน้อยและคุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไร

26 September 2017
44280 view

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์

พัฒนาการทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 4 สัปดาห์

ตอนนี้ลูกเป็นบลาสโทซิสต์ซึ่งประกอบด้วยเซลล์หลายร้อยเซลล์เดินทางมาถึงรก แล้วเริ่มเกาะติดกับผนังมดลูก เซลล์เติบโตไปเป็นคอริโอนิกวิลไลซึ่งภายหลังจะกลายเป็นรก เอนไซม์ที่ปลดปล่อยออกมาจะเจาะชั้นบุมดลูก ทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อและให้เม็ดเลือดที่เป็นตัวให้อาหารแก่คอริโอนิกวิลไล กระบวนการฝังตัวใช้เวลาประมาณ 13 วัน เมื่อบลาสโทซิสต์ฝังตัวแล้ว เซลล์ของบลาสโทซิสต์จะเริ่มแบ่งเป็นชั้นๆ ชั้นบนกลายเป็นเอมบริโอและโพรงน้ำคร่ำ ส่วนชั้นล่างกลายเป็นถุงไข่แดง ถุงไข่แดงจะผลิดเม็ดเลือดสำหรับเอมบริโอจนกระทั่งไขกระดูกของเอ็มบริโอเองพร้อมที่จะรับช่วงต่อเอ็มบริโอจะแบ่งต่อไปเป็น 3 ชั้น

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไร

 ถ้าคุณสงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ การทดสอบเลือดเท่านั้นที่จะให้ผลได้ถูกต้องที่สุดในเวลานี้ เนื่องจากชุดทดสอบการตั้งครรภ์สำหรับทดสอบที่บ้านนั้นจะไม่สามารถตรวจสอบฮอร์โมนในการตั้งครรภ์ที่ชื่อ ฮิวแมน คอริโอนิก โกนาโดโทรพิน (เอชซีจี) ในปริมาณน้อยๆ ได้ ในเวลานี้รกได้หลั่งฮอร์โมนนี้เข้าสู่กระแสเลือดของคุณแล้ว ในขณะที่รอดูว่าประจำเดือนจะมาหรือไม่ คุณอาจมีอาการแสดงของการตั้งครรภ์ที่คล้ายกับอาการแสดงก่อนมีประจำเดือนบางอย่าง เช่น พะอืดพะอม คัดเต้านม

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ ตรวจอะไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะได้รับการตรวจยืนยันการตั้งครรภ์ ทางการแพทย์มีการตรวจ2 วิธี คือ การตรวจปัสสาวะ ซึ่งคุณแม่สามารถซื้อมาตรวจเองได้ แต่ บางรายอาจยังตรวจไม่พบว่าตั้งครรภ์ อาจมีการตรวจระดับฮอร์โมนเพิ่มเติมเรียกว่า การตรวจฮอร์โมน hCG  การตรวจดังกล่าวเป็นการตรวจ เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ของรก ระดับของฮอร์โมนจะเริ่มตรวจพบเมื่อ 11 วันหลังจากการมีปฏิสนธิ และจะตรวจพบในปัสสาวะหลังจากปฏิสนธิ 12-14 วัน ระดับฮอร์โมนจะมีค่าเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 3 วันระดับฮอร์โมนจะขึ้นสูงสุดที่ 8-11 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นค่าจะลดลงและคงที่ตลอดการตั้งครรภ์i

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฮอร์โมน hCG

  • ร้อยละ 85 ของผู้ตั้งครรภ์จะมีค่าฮอร์โมนเป็น 2 เท่าทุก2-3วัน และเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นก็อาจจะใช้เวลานานขึ้นซึ่งอาจจะเป็น 2 เท่าทุก 4 วัน
  • การแปรผลค่าฮอร์ต้องระวัง ผู้ตั้งครรภ์บางท่านค่าฮอร์โมนไม่สูง แต่ทารกก็แข็งแรง ดังนั้นควรจะใช้การตรวจชนิดอื่น เช่น ultrasound ร่วมด้วยในการแปรผล
  • ระดับฮอร์โมนน้อยกว่า 5mIU/ml แสดงว่าไม่ตั้งครรภ์ ค่าฮอร์โมนมากกว่า 25mIU/ml แสดงว่าตั้งครรภ์
    หากระดับฮอร์โมนอยู่ระหว่าง 1,000-2,000 mIU/ml จะต้องใช้การตรวจ ultrasound ตรวจทางช่องคลอดเพื่อดูทารก ดังนั้นครรภ์อ่อนๆจะต้องอาศัยทั้งการตรวจฮอร์โมน และ ultrasound
  • การตรวจฮอร์โมนเพียงครั้งเดียวไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัย ในกรณีที่มีปัญหาในการวินิจฉัยจะต้องมีการเจาะเลือดซ้ำ
  • ไม่ควรใช้ระดับฮอร์โมนในการคาดการณ์วันครบกำหนดคลอด

ระดับฮอร์โมน hCG แยกเป็นสัปดาห์ หลังจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย LMP (gestational age)

  • 3สัปดาห์ LMP: 5 – 50 mIU/ml
  • 4สัปดาห์ LMP: 5 – 426 mIU/ml
  • 5สัปดาห์ LMP: 18 – 7,340 mIU/ml

การบำรุงครรภ์ที่เหมาะสมกับคุณแม่อายุครรภ์4สัปดาห์

ตัวอ่อนฝังตัวในมดลูก ช่วงนี้เองที่คุณเริ่มรู้สึกแปลกๆ ของอาการแพ้ท้อง ที่เป็นสัญลักษณ์ที่บอกให้คุณได้รู้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์แล้ว อาการแปลกๆ เหล่านี้อาจทำให้คุณอยากกินอาหารแปลกๆ ที่ปกติไม่เคยชอบ หรืออยากกินอาหารที่มีรสเปรี้ยวการตามใจปากบริโภคอาหารเหล่านี้เข้าไปมากอาจ ทำให้คุณขาดสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ของคุณ ได้ช่วงที่ตัวอ่อนกำลังฝังตัวในเยื่อบุผนังมดลูก คุณจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพราะมันจะช่วยสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารสำคัญที่นำเอาออกซิเจนมาสู่ตัวอ่อนได้ คุณสามารถได้รับธาตุเหล็กจากอาหารกลุ่มธัญพืชต่างๆ ถั่ว ตระกูลต่างๆ ผักขม และผงกะหรี่

อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ลูกน้อยและคุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไร 

คุณแม่สามารถคลิกเลือกอายุครรภ์ ตามตัวเลขที่ระบุได้เลยค่ะ....

1 สัปดาห์

2 สัปดาห์

3 สัปดาห์

4 สัปดาห์

5 สัปดาห์

6 สัปดาห์

7 สัปดาห์

8 สัปดาห์

9 สัปดาห์

10 สัปดาห์

11 สัปดาห์

12 สัปดาห์

13 สัปดาห์

14 สัปดาห์

15 สัปดาห์

16 สัปดาห์

17 สัปดาห์

18 สัปดาห์

19 สัปดาห์

20 สัปดาห์

21 สัปดาห์

22 สัปดาห์

23 สัปดาห์

24 สัปดาห์

25 สัปดาห์

26 สัปดาห์

27 สัปดาห์

28 สัปดาห์

29 สัปดาห์

30 สัปดาห์

31 สัปดาห์

32 สัปดาห์

33 สัปดาห์

34 สัปดาห์

35 สัปดาห์

36 สัปดาห์

37 สัปดาห์

38 สัปดาห์

39 สัปดาห์

40 สัปดาห์

ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกลุ่มคุณแม่แชร์ไอเดีย

เรียบเรียงโดย  : Mamaexpert Editorial Team 

อ้างอิง : 

1. ผศ.ดร.อรกัญญ์ ภูมิโครักษ์(2555) .คู่มือการตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่มือใหม่หน้า13 .กรุงเทพ ; สำนักพิพ์เอ็มไอเอส 

2. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฮอร์โมนhCG.เข้าถึงได้โดย

 .https://www.siamhealth.net/public_html/mother_child/Pregnancy/hcg.html  . [ค้นคว้าเมื่อ 29 กันยายน 2560]

3. 4weeks pregnant - what to expect.เข้าถึงได้โดย. https://www.tommys.org/pregnancy-week-by-week/4-weeks-pregnant-what-to-expect . [ค้นคว้าเมื่อ 29 กันยายน 2560]

4. Your pregnancy: 4 weeks. เข้าถึงโดย. https://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-4-weeks_1080.bc .[ค้นคว้าเมื่อ 29 กันยายน 2560]