แพทย์เตือนแม่ลูกอ่อน ลูกนอนดึกมากไประวัง เป็นโรคงูสวัดในเด็ก !!!

07 March 2017
7934 view

โรคงูสวัดในเด็ก

นพ.อรรณพ บุญหวังช่วย แพทย์ผิวหนังแชร์ความรู้เตือนคุณแม่ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว นพ.อรรณพ บุญหวังช่วย ว่า... อย่าให้เด็กๆนอนดึกเสี่ยงต่อการเป็นงูสวัดได้ ดังเช่นกรณีเคสที่คุณหมอตรวจเจอในวันนี้ 



เด็กๆที่ชอบนอนดึกควรระวัง โรคนี้มักพบได้บ่อยในคนสูงอายุแต่ในเด็กก็สามารถเกิดได้ โรคนี้คือ"งูสวัด" จากภาพ เป็น case เด็ก อายุ ประมาณ 10 ขวบ มาด้วยอาการตุ่มน้ำใส เป็นกลุ่ม บริเวณหน้าอก ซีกซ้าย มา 2 วัน แม่ให้ประวัติว่านอนดึก ประมาณ เที่ยงคืน-ตี 1 มา3-4 วัน มีอาการปวดเล็กน้อย โรคงูสวัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ varicella-zoster virus หรือ vzv ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับอีสุกอีใส ที่เราเคยเป็นมาก่อนแล้วหลบอยู่ที่ปมประสาทไขสันหลังของเราแบบสงบๆไม่มีอาการใดๆเพราะมีภูมิคุ้มกันที
่ดีคอยคุมเชื้อนี้อยู่แต่เมื่อใดที่มีภาวะที่ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายเหล่านี้ต่ำลง เช่นอายุมาก ถูกกระทบกระเทือน มีความเครียด ทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอ ติดเชื้อเอชไอวี เป็นมะเร็ง ใช้ยาต้านมะเร็งหรือยา กดภูมิคุ้มกัน เชื้อที่แฝงตัวอยู่นั้นก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และกระจายในปมประสาท ทำให้เส้นประสาทอักเสบ (เกิดอาการปวดตามแนวเส้นประสาท) เชื้อจะกระจายไปตามเส้นประสาทที่อักเสบ และปล่อยเชื้อไวรัสออกมาที่ผิวหนัง เกิดเป็นตุ่มใสเรียงเป็นแนวยาวตามแนวเส้นประสาท เกิดผื่นผิวหนังขึ้น ดังรูป คนไข้คนนี้อายุน้อยที่สุดที่คุณหมอเคยเจอ จึงเอามาแชร์ให้ความรู้เพื่อได้ดูแลตัวเองที่ถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ไม่ค่อยจะพบกันบ่อยๆ คุณหมอกล่าว 

โดยสรุปแล้ว ... 

  • สาเหตุ โรคงูสวัดในเด็กเกิดจาก เชื้อไวรัส ชื่อ varicella-zoster virus หรือ vzv  
  • อาการ ที่พบในเด็ก 2-3 วันแรก จะมีอาการ ปวดแสบปวดร้อน หรือคัน  ต่อมาจะมีผื่นขึ้นขึ้นไม่มาก อยู่ประมาณ 3-5 วัน รวมระยะเวลาแล้ว คือ 7-10 วัน เพราะฉะนั้น จะเห็นเป็นทางขวางตามลำตัวด้านหน้า ด้านหลัง รอบเอว ตามแนวเส้นประสาทตามยาวที่แขนและขา หรือตามแนวเส้นประสาทที่บริเวณใบหน้า นัยน์ตา หู ศีรษะ เป็นต้น หากลามเข้าที่ตาแล้วจะทำให้ตาบอด
  • การรักษา แพทย์รักษาตามอาการที่ตรวจพบ
  • การป้องกัน  หลีกเลี่ยงสัมผัสผื่นและตุ่มโรคของผู้ป่วย โดยเฉพาะเมื่อไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส หรือไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (วัคซีนคนละชนิดกับป้องกันโรคอีสุกอีใส แต่เป็นวัคซีนที่ยังไม่แพร่หลาย) ในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ในประเทศเรา เมื่อสนใจวัคซีนตัวนี้ควรปรึกษาแพทย์


เป็นอย่างไรบ้างคะ ได้อ่านเคสตัวอย่างที่คุณหมออรรณพได้บอกเล่าแล้ว คุณแม่อย่าปล่อยเจ้าตัวเล็กให้เล่นเพลิน จนเลยเวลานอนนะคะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. โรคตุ่มน้ำพองใสในเด็ก

2. 5 โรคอันตรายในเด็กที่ต้องเฝ้าระวัง

3. โรคร้ายที่พบในเด็กแต่ละช่วงวัย ที่แม่ควรรู้

เรียบเรียงโดย  : Mamaexpert Editorial Team

ขอบคุณข้อมูล  :นพ.อรรณพ บุญหวังช่วย  คลินิกผิวหนัง โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ Narathiwat Hospital