บำรุงครรภ์ กินอย่างไรให้น้ำหนักไปที่ลูกแม่ท้องไม่อ้วนเผละ

11 November 2016
182401 view

บำรุงครรภ์

นับเป็นปัญหาใหญ่อันดับต้นๆเลยทีเดียว เรื่องการบำรุงครรภ์ เพราะคุณแม่ตั้งมีการเปลี่ยนแปลของฮอร์โมนหลังหายจากการแพ้ท้องแล้ว ก็จะมีความสุขกับการกิน กินเพลินไปหน่อยโน่นก็สารอาหารดี นี่ก็อร่อยสุดๆ มื้อดึกก็ยังอร่อยเหาะ ไปๆมาๆพาให้น้ำหนักแม่ท้องพุ่งกระฉูด แต่น้ำหนักลูกน้อยกลับไม่กระดิกเอาซะเลย วันนี้ mamaexpert แนะนำวิธีบำรุงครรภ์แบบมืออาชีพมาฝาก  เมนูที่ต้องเน้นนั้น จะต้องเป็นประเภทไหน และน้ำหนักแต่ละไตรมาสควรอยู่ที่เท่าไหร่ มาดูกันค่ะ

บำรุงครรภ์กับน้ำหนักของแม่ตั้งครรภ์แต่ละไตรมาส 

  • ไตรมาสที่ 1 คุณแม่ตั้งครรภ์ควรน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1 - 1.5 กิโลกรัม 
  • ไตรมาสที่ 2 คุณแม่ตั้งครรภ์ควรน้ำหนักเพิ่มขึ้น  4 -5 กิโลกรัม 
  • ไตรมาสที่ 3 คุณแม่ตั้งครรภ์ควรน้ำหนักเพิ่มขึ้น 5 - 6   กิโลกรัม

ดูตัวเลขแล้ว น้อยนิดและเป้นไปได้ยากเหลือเกินใช่ไหมคะ เพื่อเป็นการควบคุมน้ำหนักแม่ตลอด 9 เดือน ไม่ให้ทะลุมิติเกิน 15 กิโลกรัมและน้ำหนักลูกขึ้นดี สมองดี ควรแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อย่อยๆ 4-5 มื้อและรับประทานอาหารดังนี้  

     1. บำรุงครรภ์ด้วยอาหารที่มีโปรตีน 3 มื้อ : เนื้อหมู,เนื้อวัว,เนื้อเป็ด,เนื้อไก่ไม่ติดมัน,เครื่องในไม่มีไขมัน 75 กรัม,เนื้อปลา 100 กรัม,กุ้ง 100 กรัม,ไข่ 3 ฟอง,นม 500 มิลลิลิตร,โยเกิร์ต 340 มิลลิลิตร

     2. บำรุงครรภ์ด้วยอาหารจำพวกแป้ง 4-5 มื้อ : ข้าว,ก๋วยเตี๋ยว,ขนมปังธัญพืช,คอร์นเฟล็ก,ถั่วแดง

     3. บำรุงครรภ์ด้วยผักใบเขียวและผลไม้ 3 มื้อ : ผักโขมและบรอกโคลี 25 กรัม,มะเขือเทศ 150 กรัม,พริกหยวก 25 กรัม,แตงโม 50 กรัม,แคร์รอต 13 กรัม,มะม่วง,องุ่น,ส้ม,ถั่ว 250 กรัม,เงาะ,มังคุด,แอปเปิ้ล

     4. บำรุงครรภ์ด้วยอาหารที่มีแคลเซียม 4 มื้อ : นมวัว 200 มิลลิลิตร,นมเปรี้ยว 250 มิลลิลิตร,ใบชะพลู,ใบขึ้นฉ่าย,ใบยอ,ผักโขม,มะเขือพวง, กุ้งน้ำจืด,กุ้งแห้ง,ถั่วเหลือง,ถั่วเขียว,เต้าหู้,ปลาซาร์ดีนชนิดมีก้างบรรจุกระป๋อง

     5. บำรุงครรภ์ด้วยอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี 2 มื้อ : ฝรั่ง,ส้ม,น้ำมะนาว,องุ่น 1 พวง,มะขามป้อม,พริกหยวก 25 กรัม

     6. บำรุงครรภ์ด้วยอาหารที่มีธาตุเหล็ก 2 มื้อ : ตับ,เนื้อแดง,เนื้อปลา,ไข่แดง,ใบชะพลู,ใบตำลึง,ใบกะเพรา,ใบขี้เหล็ก,ใบขึ้นฉ่าย,ชะอม,งา

     7. บำรุงครรภ์ด้วยน้ำสะอาดบริสุทธิ์วันละ 8 แก้ว : ควรงดกาแฟและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ส่วนผลไม้นั้นคุณแม่ควรเลือกรับประทานเช่นกันค่ะ สำหรับคุณแม่มีมีโรคประจำตัว หรือเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาจจำเป็นต้องเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวาน สำหรับคุณแม่ที่สุขภาพครรภ์ปกติผลไม้แนะนำมีดังต่อไปนี้ 

บำรุงครรภ์ด้วยกล้วย : เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 และวิตามินซี และยังมีสารสำคัญที่ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ ทำให้คุณแม่อารมณ์ดี มีใยอาหารสูงที่ช่วยในการทำงานของระบบขับถ่าย

บำรุงครรภ์ด้วยฝรั่ง : อุดมไปด้วยวิตามินซีและวิตามินเอ ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคหวัด ช่วยบำรุงเหงือกและฟันให้แข็งแรง

บำรุงครรภ์ด้วยแอปเปิ้ล : อุดมไปด้วยเกลือแร่และวิตามิน ช่วยควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด ลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยกระตุ้นการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระให้ทำงานได้ดีขึ้น

บำรุงครรภ์ด้วยมะละกอสุก : อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ แคโรทีน วิตามินซี ฟลาโวนอยด์ วิตามินซี สารโฟลิก ธาตุโพแทสเซียม แมกนีเซียม และเส้นใยอาหาร เป็นผลไม้ที่เหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีปัญหาเรื่องท้องผูก

บำรุงครรภ์ด้วยมะม่วงสุก : อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ฟอสฟอรัส และแคลเซียม ช่วยในการสร้างกระดูกและฟันให้กับทารกในครรภ์ และบำรุงกระดูกและฟันของคุณแม่ให้แข็งแรง

บำรุงครรภ์ด้วยมะพร้าว : อีกหนึ่งผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก เช่น โปรตีน กลูโคส และแคลเซียม และยังช่วยแก้อาการอ่อนเพลียและดับกระหายได้ดี

บำรุงครรภ์ด้วยแตงโม : เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม มีสรรพคุณช่วยควบคุมอัตราความดันโลหิตของร่างกาย และยังมีวิตามินซีธรรมชาติที่ดีต่อร่างกาย

บำรุงครรภ์ด้วยส้ม : ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันหวัดและช่วยในเรื่องการขับถ่ายได้ดี

บำรุงครรภ์ด้วยสับปะรด : มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และแมงกานีส ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และช่วยป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระ

บำรุงครรภ์ด้วยลูกพรุน : อีกหนึ่งผลไม้ที่เหมาะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีปัญหาเรื่องโลหิตจาง เพราะในลูกพรุนจะมีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบหลัก จึงช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง และยังมีวิตามินบี 2 ที่จะช่วยสร้างแคลเซียม ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 

1.น้ำหนักแม่ตั้งครรภ์ตลอด9เดือน
2.อาหารบำรุงครรภ์ แยกตามอายุครรภ์40สัปดาห์
3.น้ำหนักทารกในครรภ์ 42 สัปดาห์

เรียบเรียโดย : Mamaexpert Editorial Team