ลูกพูดช้า
พัฒนาการด้านการพูดของลูกแต่ล่ะช่วงวัย
ทางการแพทย์ระบุว่า พัฒนาการด้านการพูดของเด็กเริ่มตั้งแต่แรกคลอด สังเกตได้จากการเปล่งเสียงร้องของเด็กในวินาทีที่ออกมาจากท้องแม่ เป็นสัญชาติญาณการมีชีวิตและส่งสัญญาณให้แม่รู้ว่าหนูเกิดแล้ว
- ช่วงอายุ 2- 3 เดือน พัฒนาการด้านการพูดของลูกจะเริ่มชัดเจน ขึ้น ด้วยการส่งเสียง อ้อแอ้ ให้คุณแม่ได้รับรู้ คุณควรหยิบฉวยโอกาสทองนั้นไว้ ด้วยการพูดโต้ตอบกับเสียงอ้อแอ้นั้นในทุกครั้ง
- ช่วงอายุ 5- 6 เดือน พัฒนาการ ด้านการพูดของลูกจะ อัพสะเต็บขึ้นมาเล็กน้อย คุณแม่จะสังเกตได้ว่า ลูกเล่นน้ำลาย เป่าปาก มีเสียงจากลำคอให้ได้ยินอยู่บ่อยๆ
- ช่วงอายุ 10 -15 เดือน หรือ 1 ขวบโดยประมาณ เสียงในลำคอที่คุณแม่เคยได้ยิน และอยากได้ยินซ้ำนั้น จะเปลี่ยนมาเป็น คำพูด เป็นคำๆ เป็นคำที่มีความกหมาย พ่อแม่อย่าพลาดที่จะฝึกให้ลูกได้รู้จักคำศัพง่ายๆในช่วงเวลานี้ ในที่สุดคำศัพท์ก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 2 ขวบ
- ช่วงอายุ 2 ขวบ ขึ้นไป ลุกจะก็จะเริ่มพูดคำที่มีความหมาย 2 คำ ติดกัน เป็นวลีสั้น ๆ เช่น ” ไปไหน ” ” ไม่เอา ” แล้วก็จะเริ่มขึ้นเป็นประโยคยาว ๆ ได้ประมาณ 3-4 ขวบ
- ช่วงอายุ 3-4 ขวบ เป็นวัยที่เด็กเข้าใจการสื่อสารได้พอๆกับวัยผู้ใหญ่ สามารถพูดประโยคตอบโต้ได้ แต่อาจพูดไม่ได้ในประโยคใหม่ๆที่เขายังไม่เคยได้ยินมาก่อน เมื่อเข้าอนุบาล จะพูดเก่งขึ้นตามเพื่อนและตามวัยค่ะ
อายุเท่าไหร่ถือว่าลูกพูดช้าและควรพาลูกไปพบแพทย์เมื่อไหร่
โดยปกติแล้ว ทางการแพทย์จะวินิจฉัยว่าลูกรักของคุณ เป็นเด็กที่มีพัฒนาการด้านการพูดผิดปกติก็ต่อเมื่อลูกอายุครบ 2 ขวบแล้ว แต่ไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้ พูดคำศัพท์ได้เพียงคำเดียว และสื่อสารกับคนอื่นไม่ได้แบบนี้ถือว่าผิดปกติแน่นอน ต้องปรึกษาแพทย์ แต่ความผิดปกติทางการพูด มักมาพร้อมกับความผิดปกติทางด้านการได้ยินร่วมด้วย เด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป สามารถทำตามสั่งได้แล้ว หากลูกของคุณ ยังพูดไม่ได้และทำตามสั่งไม่ได้ ไม่เข้าใจคำสั่ง อาจจะต้องตรวจการได้ยินร่วมด้วย
5 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกพูดช้า
- การพูดผิดปกติ เกี่ยวเนื่องจากอวัยวะรับการได้ยินผิดปกติ หูผิดปกติ หูดับ หูหนวก
- การพูดผิดปกติ เกี่ยวเนื่องกับระดับสติปัญญา ลูกมีภาวะปัญญาอ่อน
- การพูดผิดปกติ เกี่ยวเนื่องกับสารเคมีในสมอง ลูกเป็นออทิสติก
- การพูดผิดปกติ เกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม เด็กที่มีปัญหาด้านการพูด แพทย์อาจซักประวัติไปถึงปู่ย่า ตายาย หรือญาติในสายเลือด ด้วยว่ามีใครในครอบครัวมีปัญหาเกี่ยวกับการพูดหรือไม่ เพราะสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
- การพูดผิดปกติ เกี่ยวเนื่องกับการเลี้ยงดูและสิ่งเเวดล้อม ลูกจะมีพัฒนาการดีหรือไม่ พ่อแม่มีส่วนมากจริงๆค่ะ พ่อแม่ในยุคปัจจุบัน เสียเวลาไปกับ การเล่นเฟสบุ๊ค เล่นไลน์ ติดเกมส์มือถือ หรือยุ่งกับงานที่รัดตัว ไม่มีเวลาพูดและสื่อสารกับลูก ปล่อยให้แท็บเล็ต ทีวี เลี้ยงลูกแทน การขาดการพูดโต้ตอบที่ดี ทำให้เด็กพูดไม่ได้ เพราะเด็กดูอย่างเดียว ไม่มีใครพูดด้วย อยู่กับความเงียบ เเละภาพที่ฉายเลื่อนไปมา สมองด้านการพูดของเด็กจึงถูกลบล็อคไปโดยอัตโนมัติ
วิธีการตรวจเบื้องต้นและแก้ไข ลูกพูดช้า ควรทำอย่างไร
นอกจากการพาเด็กไปพบกุมารแพทย์เพื่อประเมิน เรื่องพัฒนาทั่ว ๆ ไปของเด็ก ถ้ามีการสงสัย เราก็จะมีการตรวจการได้ยินเป็นอันดับแรก เพื่อให้แน่ใจว่า การได้ยินของเด็กชัดหรือไม่ หรือเป็นจากสาเหตุอื่น ๆ จากนั้นก็หาสาเหตุต่อไป ถ้ามาจากสาเหตุของการกระตุ้น การรักษาที่แน่นอนที่สุด ก็คือ พ่อแม่จะต้องมีเวลาให้เด็กมากขึ้นในการเล่น พูดคุย โดยส่วนใหญ่เด็กก็จะตอบสนองได้ดี และจะกลับมาพูดเป็นปกติได้ในเวลาที่รวดเร็ว และถ้ายังคงมีปัญหาอยู่เราก็จะมีบริการเรื่องการฝึกพูด โดยมีนักฝึกพูดหรือเรียกทางการว่า วจีบำบัด ซึ่งจะช่วยเหลือในการพูดช้า การออกเสียง เด็กพูดไม่ชัด การออกเสียง เด็กพูดไม่ชัดโดยทั่วไปก็จะต้องรักษาการฝึกพูด ในเบื้องต้นแล้วถ้าคุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่าลูกมีความผิดปกติ คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยโดยการพูดกับเด็กให้มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายถึง การบังคับให้เด็กพูด แต่ควรพูดกับเด็ก โดยทั่วไปเด็กควรจะเห็นผู้พูดในระดับสายตา พูดช้าๆ ชัด ๆ ก็จะเป็นการสอนลูกไปในตัว
อยากให้ลูกมีพัฒนาการ ด้านการพูด รวมถึงการเรียนรู้ด้านอื่นๆดีสมวัย เริ่มต้นจากพ่อแม่ เพราะพ่อแม่คือคนที่อยู่กับลูกมากที่สุด อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปอย่างไร้ค่า เมื่อมีโอกาสได้อยู่กับลูกแล้ว ควรกระตุ้นการเรียนรู้ให้กับลูกตามช่วงวัย Mamaexpert ขอเป็นกำลังใจให้ทุกบ้านเลี้ยงลูกอย่างมีความสุข และมีพัฒนาการดีสมวัยนะคะ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
2.การนอนของลูกช่วยพัฒนาสมองและความฉลาดได้จริงหรือ
3.เด็กควรนอนท่าไหนถึงจะปลอดภัย
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team