โรค PPHN หรือ โรคความดันเลือดในปอดสูง โรคอันตรายที่พบในเด็กแรกเกิด
โรคความดันเลือดในปอดสูง อันตรายอย่างไร
โรค PPHN ย่อมาจาก(Persistent Pulmonary Hypertension of the Newborn) ชื่อภาษาไทยความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด เป็นภาวะที่ความต้านทานและความดันเลือดแดงไม่ลดลงตามปกติหลังทารกคลอดออกมา เป็นโรคที่มีอัตราการเกิดขึ้นประมาณ 1 ใน 1,000 ของเด็กแรกเกิด และเป็นโรคที่่กุมารแพทย์ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับเด็กๆเลย เพราะ ความรุนแรงของโรคสูงและอาการเปลี่ยนแปลงฉับพลันตลอดเวลา และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกแรกเกิด มีภาวะ PPHN ได้กว่าทารกทั่วไป ได้แก่
- ทารกที่เกิดภาวะพร่องออกซิเจนระหว่างคลอด
- ทารกที่มีภาวะสูดสำลักขี้เทา
- ทารกที่มีลมรั่วในเยื่อหุ้มช่องปอด
- ทารกที่มีภาวะใส้เลื่อกระบังลม
- ทารกที่มีปอดอักเสบ
- ทารกที่มีอาการติดเชื้อ
โรคความดันเลือดในปอดสูง รักษาอย่างไร
หลักการรักษาของแพทย์ คือ ดูแลให้ทารกมีความรู้สึกว่าเหมือนยังอยู่ในท้องของแม่ ดูแลให้เด็กได้หลับหรือรู้สึกตัวให้น้อยที่สุด การรักษามุ่งเน้นการลดความต้านทานและความดันเลือดในปอด ได้แก่ การใช้เครื่องช่วยหายใจ การให้ยากระตุ้นหัวใจ การให้ยาขยายหลอดเลือดแดงในปอด การแก้ไขภาวะความเป็นกรดของเลือด และการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และประคับประคองตามอาการที่เปลี่ยนเเปลง จนกว่าอาการจะดีขึ้น ปอดแข้งแรงและหายใจได้เป็นปกติ ทารกถึงจะสามารออกจาก NICU ได้ และถ้าปอดแข็งแรง ทารกสามารถกลับบ้านได้และเลี้ยงดูตามปกติเหมือนทารกทั่วไป ยกเว้นในรายที่มีโรคอื่นเเทรกซ้อน แพทย์อาจนัดตรวจเป็นระยะ และแนะนำการดูแลเพิ่มเติมให้กับคุณแม่เป็นรายๆไป
โรคดังกล่าวค่อนข้างรุนแรงเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการไปฝากครรภ์ตามนัดและหากมีความผิดปกติควรพบเเพทย์ก่อนนัดทันที