ความแตกต่างของนมแม่และนมผสม
หลายคนคงได้อ่านข่าวที่มีนักวิทยาศาสตร์ทำการโคลนนิ่งแม่วัวเพื่อให้ผลิตน้ำนมแบบน้ำนมของคนมาแล้วเมื่อไม่นานมานี้ หลายท่านอาจจะงงว่าเอ..ทำไมต้องมามีน้ำนมเหมือนน้ำนมของคน หรือลูกวัวจะมาแย่งน้ำนมแม่คนซะแล้ว ความจริงแล้วบรรดานักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานแน่นอนว่าน้ำนมของคุณแม่คนทั้งหลายเป็นน้ำนมที่ดีที่สุด มีความเหมาะสมที่สุดในการเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรงของลูก และอยากจะให้แม่วัวได้มีน้ำนมคุณภาพดีเลิศแบบน้ำนมคนไปเลี้ยงลูกวัวบ้างจะได้มีภูมิต้านทานและเติบโตได้ดีไม่ป่วยเป็นโรคกระเสาะกระแสะอย่างเช่นวัวในปัจจุบัน ดังนั้นคำถามที่น้ำนมแม่และนมกระป๋องเหมือนกันไหม ใช้แทนกันได้ไหม ก็จะได้ตำตอบยืนยันมั่นคงว่าไม่เหมือนและทดแทนกันไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะแม้แต่ข้างกระป๋องของนมผงยังเขียนไว้ว่า
- น้ำนมแม่เป็นอาหารดีที่สุดสำหรับทารก เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน “และมีคำอธิบายเพิ่มบนกระป๋องว่าสูตรใกล้เคียงน้ำนมมารดา
- การใช้นมผสมควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล หรือนักโภชนาการ “ก็หมายความว่าไม่ใช่สิ่งที่ปกติควรจะใช้เพราะต้องมีอะไรที่ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
- การเตรียมหรือใช้ส่วนผสมที่ไม่ถูกต้อง จะเป็นอันตรายต่อทารก” นั่นหมายความว่ามีอันตรายรออยู่เบื้องหน้าถ้าใช้ไม่ถูกวิธี
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของนมแม่และนมผสม
นมแม่ ของแท้ที่สร้างร่างกายของแม่และความรัก |
นมผสม ของเทียมที่ทำจากเครื่องกลในโรงงานอุตสาหกรรม |
น้ำนมแม่สะอาด ปราศจากเชื้อโรค อุ่นอยู่ในอก พร้อมให้ลูกรับประทานได้ทันที ทุกที่ทุกเวลา
|
ผลิตจากวัตถุดิบจากพืช หรือสัตว์ มีการเติมสารปรุงแต่งให้ใกล้เคียงกับนมแม่โดยกระบวนการผลิตหลายขั้นตอนทำให้มีโอกาสปนเปื้อนมากกว่า |
มีสารอาหารครบตามความต้องการและยังเป็นของสารอาหารที่ลูกสามารถนำไปใช้ได้ดี จึงดูดซึมได้หมดทำให้มีระยะว่างของกระเพาะทารกน้อย ลูกจึงกินได้บ่อยครั้งทำให้มีน้ำนมมากขึ้นตามความต้องการของลูก
|
มีการปรับปรุงทั้งทางเพิ่มและลดเพื่อให้อยู่ในระดับที่ลูกเอาไปใช้ได้เท่านั้น นมกระป๋องมีน้ำตาลและไขมันที่ต่างจากนมแม่ทำให้ท้องผูก ใช้เวลาย่อยนานลูกจึงกินไม่บ่อย |
นมแม่มีสารที่มีชีวิต เช่นเม็ดเลือดขาว ภูมิคุ้มกันที่ลูกเอาไปใช้ได้ทันที เอ็มไซม์ช่วยย่อยอาหาร และ ฮอร์โมนเพื่อช่วยในการเติบโต
|
เป็นผงแห้งที่ถูกทั้งความร้อน กรด ด่าง ในกระบวนการผลิตจึงไม่เหลือชีวิต ต้องละลายด้วยน้ำอุ่นเพื่อคืนสภาพเป็นน้ำนมอีกทีก่อนให้ลูกกิน |
การกินนมแม่ช่วยกระตุ้นฮอร์โมนของแม่ให้ทำงาน ร่างกายแม่จะกลับสู่ภาวะปกติได้โดยเร็ว | ร่างกายแม่ไม่ได้รับการกระตุ้น ไม่ได้รับประโยชน์ในการกลับสู่ภาวะปกติ แต่ต้องเตรียมและทำความสะอาดอุปกรณ์อย่างเร่งรีบ เวลาที่จะได้พักหรือชื่นชมกับลูกก็น้อยลงไป
|
เด็กที่กินนมแม่มีการป่วยด้วยโรคท้องร่วงน้อยกว่าเด็กกินนมกระป๋อง | นมกระป๋องไม่ได้อยู่ในสภาพปราศจากเชื้อโรด และขั้นตอนการเตรียมจะมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคจากน้ำ ภาชนะ และอื่นๆได้มากกว่าทำให้เด็กที่กินนมกระป๋องมักป่วยด้วยโรคท้องร่วงในช่วงขวบปีแรก
|
นมแม่ลดปัญหาโรคภูมิแพ้ และหอบหืด | เด็กที่ได้รับโปรตีนแปลกปลอมของนมวัวหรือพืชบางตัวที่เติมในนมกระป๋องจะกระตุ้นให้เกิดภาวะภูมิแพ้
|
นมแม่ลดปัญหาโรคอ้วน เพราะมีไขมันชนิดดีที่ช่วยพัฒนาสมองและการมองเห็น มีน้ำตาลนมที่จะกลายเป็นอาหารให้แบคทีเรียดีในลำไส้ใช้ในการช่วยป้องกันการท้องร่วงในทารกนั้นด้วย | เด็กมักกินนมในจำนวนที่มากกว่าที่ร่างกายต้องแต่ดูดนมเพราะถูกกระตุ้นจากการป้อน ทำให้กินมากเกินไป และนมกระป๋องมีไขมันและน้ำตาลที่ทำให้เป็นโรคอ้วน
|
นมแม่ลดปัญหาความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด | นมกระป๋องไม่มีเอ็มไซม์ย่อยไขมัน และมีไขมันที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดมากกว่า จึงพบการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเมื่อเป็นผู้ใหญ่มากกว่า
|
นมแม่ลดปัญหาโรคเบาหวาน ทั้งแบบถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์และแบบที่เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม | น้ำตาลในนมกระป๋องเป็นน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลอื่นที่มีความหวาน กระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินมากจนทำให้เป็นโรคเบาหวานในวัยรุ่นหรือเมื่อเป็นผู้ใหญ่ได้
|
นมแม่ลดปัญหาโรคไต เพราะมีปริมาณโปรตีนที่พอเหมาะ ไม่มากไม่น้อยเกินไป | ปริมาณโปรตีนในนมกระป๋องจะมีปริมาณที่สูงเพราะดูดซึมได้เพียงเล็กน้อย เมื่อทารกได้รับโปรตีนในจำนวนมากก็จะเพิ่มการทำงานของไตทำให้เกิดปัญหาโรคไตได้
|
นมแม่ช่วยปกป้องลูกจากการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม เพราะร่างกายคุณแม่จะกรองสิ่งไม่ดีออกไปเพื่อให้ลูกปลอดภัย | นมกระป๋องถูกเรียกคืนบ่อยครั้งจากทั่วโลกจากการปนเปื้อนเชื้อโรค สารพิษเช่น เมลานิน สารตะกั่วและโลหะหนักอื่นๆจากกระบวนการผลิต และการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมจะทำให้วัวได้รับสารเหล่านั้นสะสมในร่างกายมากกว่า เมื่อเอาน้ำนมมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำนมจึงมีการปนเปื้อนมากกว่า
|
นมแม่ช่วยให้ลูกมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี เพราะใกล้ชิดกับแม่ | การกินนมกระป๋องมักทำให้แม่ลดโอกาสการใกล้ชิดกับลูก สัมผัสที่ปากลูกได้รับเป็นสัมผัสระหว่างจุกยาง ขวดพลาสติกกับลูก การโอบกอดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย
|
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. ถุงเก็บน้ำนมยี่ห้อไหนดีที่คุณแม่นิยมใช้
2. เคล็ดไม่ลับเพื่ออัพน้ำหนักลูก ด้วยการปั๊มนมแยกส่วน
3. เคล็ดลับการขนย้ายนมแช่แข็งระยะไกล เพื่อให้คงคุณค่าของนมแม่
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team