อาการของโรคไต
โรคไต ทางการเเพทย์แยกออกตามอาการ และการเกิดโรคได้แก่ ไตวายเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลัน โรคไตเกิดร่วมกับโรคชนิดอื่นเช่นโรคนิ่วผู้ป่วยก็จะมีอาการเฉียบพลัน ผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังส่วนใหญ่ในระยะเริ่มต้นมักจะไม่มีอาการอะไร เมื่อมีอาการไตก็เสื่อมลงไปมากแล้ว
17 อาการเตือนว่าคุณจะเป็นโรคไต
- ปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะ ที่เกิดจากทางเดินปัสสาวะอักเสบซึ่งมักจะพบในเพศหญิง แต่หากพบในเพศชายจะต้องตรวจหาสาเหตุ เช่นนิ่ว
- ปัสสาวะลำบาก ต้องเบ่งแรง ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะสะดุดกลางคัน ซึ่งบ่งบอกว่ามีอารอุดตันทางเดินปัสสาวะ เช่นต่อมลูกหมากโต มดลูกหย่อน
- ปัสสาวะบ่อยจนผิดปกติโดยเฉพาะเวลากลางคืน คนปกติเมื่อนอนประมาณ 6-8 ชั่วโมงจะไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะ หรืออาจจะลุกขึ้นมา 1-2 ครั้ง เนื่องจากไตคนปกติจะดูดซึมน้ำกลับมากขึ้น ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังไตจะดูดน้ำกลับไม่ดีจึงมีอาการปัสสาวะบ่อย
- ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ มีเลือดหรือขุ่นกว่าปกติ ซึ่งบ่งบอกว่ามีเลือดปน หรือมีการติดเชื้อ
- ปัสสาวะผิดปกติเช่น เป็นฟอง เนื่องจากมีโปรตีนในปัสสาวะ
- หนังตา มือ หรือเท้าบวม อาการบวมที่หนังตาหรือหน้าจะสังเกตได้ง่ายเวลาตื่นนอนตอนเช้า
- เหนื่อยง่าย หอบเวลาเดินเนื่องจากมีปริมาณน้ำเกิน
- อ่อนเพลียเหนื่อยง่ายเนื่องมาจากภาวะโลหิตจาง
- เจ็บหน้าอกเนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- เลือดออกง่าย
- กระดูกหักง่าย เนื่องจากแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ
- คลื่นไส้ อาเจียน ไม่ทราบสาเหตุ
- คันตามผิวหัง
- เจ็บเอว
- ปวดหลัง
- ความดันโลหิตสูง
- ความต้องการทางเพศลดลงจากเดิม
8.พฤติกรรมทำลายสุขภาพ ทำให้คุณเป็นโรคไตได้ง่ายๆ
- การกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ เป็นสาเหตุหลักและพบอยู่บ่อยๆ การเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ถ้า หากมีการอักเสบบ่อยครั้งและเป็นเรื้อรัง จะทำ ให้ประสิทธิภาพในการทำ หน้าที่ของไตลดลงได้
- รับประทานยาอย่างไม่ระมัดระวัง เนื่องจาก มียาหลายชนิดที่มีผลต่อการไหลเวียนของ เลือด หรือมีผลต่อผนังของระบบหลอด เลือด เช่น ยาสเตียรอยด์เป็นต้น หากเกิด การเปลี่ยนแปลงในผนังของหลอดเลือด ก็จะทำ ให้คุณสมบัติในการกรองของเสียหรือดูดซึมสารกลับของไตเสียหน้าที่ได้
- ดื่มนํ้าน้อย จะส่งผลให้ปริมาตรเลือดใน ร่างกายลดลง ซึ่งร่างกายจะต้องส่งเลือด ไปที่อวัยวะสำคัญก่อน เช่น สมอง หัวใจ เป็นต้น ซึ่งจะทำ ให้ปริมาตรเลือดที่จะไป ที่ไตลดลงและนำ ไปสู่การเสียหน้าที่ของ
ไตได้ ควรดื่มน้ำ 8 – 10 แก้ว ต่อวัน - รับประทานอาหารไขมันสูง ทำให้มีการ สะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งจะ ทำ ให้คุณสมบัติในการกรองและดูดซึม กลับสารต่างๆของไตสูญเสียได้
- รับประทานอาหารรสเค็มจัด โดยเฉพาะ เกลือโซเดียมที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้ไตทำ หน้าที่มากขึ้นและเกิดการเสื่อมในการทำ หน้าที่ของไตได้เร็วขึ้น
- สูบบุหรี่ สารต่างๆในบุหรี่จะส่งผลให้ผนังของหลอดเลือดเปลี่ยนแปลงได้ซึ่งจะ ทำ ให้คุณสมบัติในการทำ หน้าที่การกรองและดูดซึมกลับสารต่างๆเสียไปได้
- ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ แอลกอฮอล์จะเป็นตัวเร่งให้ ร่างกายต้องขับนํ้าออกจากร่างกายเพิ่ม มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลได้ใน 2 ลักษณะคือเกิดการขาดนํ้าและมีการทำ หน้าที่ของไต
ที่มากกว่าปกติได้ - รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง โดยเมื่อ เกิดการย่อยสลายสารโปรตีนแล้วของเสีย ที่เกิดขึ้นจะถูกขับออกที่ไต ซึ่งจะส่งผลให้ ไตต้องทำ หน้าที่มากกว่าผิดปกติ
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. 5 โรคอันตรายในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง
อ้างอิง :
- ทวีศิริวงศ์และ อุดม ไกรฤทธิชัย. กลเม็ดเคล็ดลับ ทำ อย่างไรไตไม่วาย. กรุงเทพฯ:สมาคมโรคไตแห่ง ประเทศไทย; 2548
- ทวี ศิริวงศ์.ภาวะไตวายเรื้อรังที่ป้องกันได้.ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2543
- สมชาย เอี่ยมอ่อง. Nephrology Volume 1. กรุงเทพฯ : Text andJournalPublication; 2543
- กล้าเผชิญ โชคบำ รุง.รูปแบบการดูแลผู้ป่วยไตวาย เรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551
- อาการและอาการแสดงว่าเป็นโรคไต. http://siamhealth.net.[2015, September 11]