ถุงเก็บน้ำนม
ปัจจุบันแม่ลูกอ่อนมีการใช้ถุงเก็บน้ำนมมากขึ้น ทำให้ถุงเก้บน้ำนมเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่มียอดขายสูงมากในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา เพราะคุณแม่ยุคใหม่สนใจและใส่ใจการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น จัดทำสต๊อกนมมากขึ้นถุงเก็บน้ำนมจึงเป็นสิ่งที่แม่ลูกอ่อนใช้อยู่เป็นประจำแทบทุกวัน นอกจากเก็บน้ำนมแล้วยังสามารถเก็บสต๊อกอาหารเเช่เเข็งของลูกน้อยอีกด้วย และด้วยความเป็นห่วงสุขภาพของลูกคุณแม่ส่วนใหญ่จึงเลือกซื้อถุงน้ำนมที่มีตราสัญลักษณ์ BPA – Free แต่ความเป็นจริงนั้น ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวมีความสำคัญและจำเป็นต้องเลือกซื้อจริงหรือไม่ มาหาคำตอบและทำความเข้าใจกับประเด็นนี้ให้มากขึ้นค่ะ
ถุงเก็บน้ำนมยิ่ห้อไหนดี ถึงจะปลอดสาร BPA คืออะไร
BPA หรือ Bisphenol A(2-4) เป็นสารเคมีประกอบหนึ่งในวัตถุที่เรียกว่า โพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate – Plastic) ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตขวดนม ขวดน้ำดื่มมานาน โดยสารนี้มีคุณสมบัติช่วยให้ขวดนมหรือพลาสติกมีความแข็งแรง ใส ไม่แตกง่าย เมื่อบริโภคอาหารจากบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นก็มีโอกาสจะได้รับสาร BPA เข้าไปโดยไม่รู้ตัว เมื่อร่างกายได้รับสาร BPA จะเกิดโทษต่างๆต่อร่างกายดังนี้
อันตรายของ BPA ในถุงเก็บน้ำนม
- มีผลต่อการสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท ความทรงจำ การเรียนรู้
- มีผลต่อฮอร์โมนการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ ทำให้เด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเกินไป
- เด็กมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนและไฮเปอร์แอคทีฟ
- ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคหัวใจ
- ยิ่งสะสมในร่างกายมากเท่าใดก็จะยิ่งไปลดศักยภาพการทำงานของร่างกายมากขึ้น
- ที่สำคัญคือ เด็กทารกเมื่อได้รับสาร BPA ก็จะส่งผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าในเด็กโตหรือผู้ใหญ่
ถุงเก็บน้ำนมต้องใช้ BPA – Free หรือไม่?
1.ถุงเก็บน้ำนมส่วนมากในประเทศไทย ผลิตจากพลาสติกประเภทที่ 4
(ปกติพลาสติกแบ่งเป้น 7ประเภท) พลาสติกหมายเลข 4 มีชื่อว่า พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) สามารถเรียกแบบย่อว่า แอลดีพีอี(LDPE) เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ไม่ค่อยทนต่อความร้อน ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร( ถุงเก็บน้ำนม) สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม เป็นต้น
2.ถุงเก็บน้ำนมบางยี้ห้อผลิตจากพลาสติกประเภทที่ 5
พลาสติกพอลิโพรพิลีน ให้ความปลอดภัยเช่นกัน แต่มีจำหน่ายในประเทศไทยน้อย ส่วนมากผลิตในต่างประเทศ เพราะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า พลาสติกหมายเลข 5 มีชื่อว่า พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) เรียกโดยย่อว่า พีพี (PP) เป็นพลาสติกที่มีความ ใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้ากระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลในอุหกรรมรถยนต์ได้
3.ถุงน้ำนมไม่ได้สำคัญที่คำว่า BPA – Free แต่อย่างใด
BPA หรือ Bisphenol ไม่สามารถนำมาผลิตเป็นถุงเก็บน้ำนมได้ คำว่า BPA – Free จึงเป็นเพียงตราสัญลักษณ์ที่เพิ่มยอดขายและความมั่นใจให้กับคุณแม่มากกว่า เพราะฉะนั้นการเลือกซื้อถุงเก็บน้ำนมที่มีขายในเมืองไทย คุณแม่ควรฉลาดเลือก เลือกจากชนิดของพลาสติกที่ใช้ในผลิตมากกว่า
เลือกซื้อถุงเก็บน้ำนมแม่อย่างไร ปลอดภัยสูงสุด
- ถุงเก็บน้ำนมควรทำจาก พอลิเอทิลีน low-density polyethylene ( L D P E ) ซึ่งปลอดภัยในการใส่อาหารที่อุณหภูมิไม่สูงอย่างนมแม่
- ต้องระวังถุงนมแม่ที่ผลิตจาก PVC ซึ่งดูยากกว่า มีความยืดหยุ่น และลักษณะคล้าย LDPE แต่อาจมีกลิ่นเหม็นกว่า
- ถุงเก็บนมแม่ที่ไม่ระบุฉลากว่าเป็นพลาสติกชนิดใด ควรหลีกเลี่ยง ไม่ควรซื้อมาใช้
- อย่าให้ความสำคัญแค่สัญลักษณ์ BPA – Free แต่ต้องดูสิ่งสำคัญกว่าคือตราสัญลักษณ์ของพลาสติกที่ใช้ผลิตด้วยที่ปลอดภัยมี 2อย่างคือ LDPE และ PP
เมื่อทราบรายละเอียดแล้ว คุณแม่อย่าหลงเชื่อเพียงคำว่า BPA – Free เพียงอย่างเดียว ที่สำคัญต้องดูตราสัญลักษณ์ที่บ่งบอกชนิดของพลาสติกด้วย รู้แล้วหยิบถุงเก็บน้ำนมที่บ้านมาเช็คด่วนค่ะ ส่วนมากระบุที่ข้างกล่องบรรจุ หากไม่มีแจ้งต้องทิ้งนะคะ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยค่ะ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. ถุงเก็บน้ำนมยี่ห้อไหนดี ยี่ห้อไหนที่คุณแม่นิยมใช้ มาดูกันเลย
2. อายุของนมแม่ นมแม่แช่แข็งเก็บอย่างไรไม่ให้บูดและไม่สูญคุณค่า
3. วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ ที่ถูกต้องและได้น้ำนมแม่แน่นอน
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team